การบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

THE INTEGRATION BASED ON THOSAPHITRAJADHAMMA IN PERSONNEL ADMINISTRATION UNDER RIO ET PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

  • สิริจรรยา ตันทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พชรเดช เสมานู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง 3เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .904 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1. การบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก โด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านตปะ รองลงมา คือ ด้านอวิหิงสา ด้านอาชชวะ ด้านปริจาคะ ด้านมัททวะ ด้านศีล ด้านทาน ด้านอักโกธะ ด้านขันติ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านอวิโรธนะ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ ด้านปริจาคะ และด้านอวิโรธนะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา ด้านอักโกธะ ด้านอวิหิงสา และด้านขันติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตำแหน่ง ด้านทาน ด้านอวิหิงสา ด้านขันติ และด้านอวิโรธนะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากร พบว่า ผู้บริหารควรรู้จักบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้เป็นผู้เสียสละ เปิดโอกาสให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บุคลากรควรมีความซื่อตรงต่อเวลา มีความจริงใจพร้อมที่จะให้บริการด้วยความมุ่งมั่น และเข้าใจประชาชน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรมและดำรงตนบนหลักแห่งธรรม เป็นไปตามหลักการบริหารงานบุคคน 4  ด้าน  ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการปฏิบัติงาน 3) ด้านการตรวจสอบและประเมินผล 4) ด้านการปรับปรุง


The objectives of research article were 1) to study general the Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization; 2) to compare the opinions on the Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization, classified by gender, age, education level, and position; and 3) to study suggestions for the Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization, a sample group of 210 personnel. The data collection tool used in this study was a questionnaire with 5-level Likert scale items, with content validity ranging from 0.67 to 1.00 and a reliability coefficient of .904. The statistical analysis used in this study included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-Way ANOVA).   


The results show that: 1) the Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization, Overall, it was at a high level, with the highest average being the tapa, followed by the non-vihihsa, the ajjava, the prijaga, Mattava, morality, alms, Akkotha, Khanti. 2) The result of Comparative results of the level of Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization, classified by gender, overall and by aspect. There was no difference classified by age, virtue and agitation. The difference was statistically significant at the .05 level, otherwise there was no difference. Classified by level of education, the Akkotha, the non-vihimsa and the Khanti were significantly different at the .05 level, classified by position, the Dhan, the non-vihimsa, the Khanti and the non-virothana. The difference was statistically significant at the .05 level. 3) the results suggested that Integration Based on Thosaphitrajadhamma in Personnel Administration under Rio Et Provincial Administrative Organization, Administrators practice themselves as givers and sacrifices. Provide opportunities for personnel and communities to participate in decision-making. Personnel should be honest on time. Be sincere and ready to provide service with determination. and understand people perform duties with righteousness and fairness and live oneself on the principles of dharma It is in accordance with the principles of personnel management in 4 aspects, namely 1) Planning 2) Operation 3) Auditing and Evaluation 4) Improvement.

References

กองการเจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. ร้อยเอ็ด : องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด.

ดำรง คุ้มพาล, ธรวรรณ มะโนรา, สมจิตร์ โตนชัยภูมิ. (2552). พฤติกรรมการบริหารงานบุคคลตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นนทพรรณ์ ธนบุณยเกียรติ์. (2559). การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกในการนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ในการบริหารภาครัฐแนวใหม่. พิษณุโลก :มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ). (2551). ทศพิธราชธรรม : การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงินแล้วยังได้นิพพาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระธราธร นาถธมฺโม (เทพวรรณ). (2562). การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่). (2563). การบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวราวุฒิ มหาวโร (ถาวะโร). (2559). การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตาบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมพร แพรม้วน. (2551). คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้เชิงประจักษ์ของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม. (2562). พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2562. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Collette, B. B. (1995). Guia FAO para la Identification de Especies para los fines de la pesca. Roma : Pacifico centro oriental.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2023-08-18
How to Cite
ตันทอง, สิริจรรยา; เสมานู, พชรเดช. การบูรณาการตามหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของบุคลากร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 2, n. 2, p. 36-48, aug. 2023. ISSN 2774-1001. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/MBUPJ/article/view/2223>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article