ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

BUDDHIST LEADERSHIP OF PHRA KHATTIYA WONGSA SCHOOL CONSORTIUM ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF ROI ET SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA

  • สุกัลยา ยกน้อย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร ที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านธัมมัญญุตา  รู้จักหลักการ รองลงมาคือ ด้านมัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ด้านปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ด้านอัตตัญญุตา รู้จักตน ด้านกาลัญญุตา รู้กาล ด้านปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านอัตถัญญุตา รู้จักผล 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาในระยะสั้นและระยะยาว ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี กำหนดนโยบายในการบริหารงานที่สอดคล้องกับทรัพยากร ควรเปิดโอกาศให้ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก มีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา


The objectives of this thematic were 1) to study the Buddhist leadership 2) to compare the opinions of personnel towards the Buddhist leadership, classified by position, level of education, and work experience, and 3) to study the recommendations of personnel towards the Buddhist leadership. The sample group consisted of 219 administrators and teachers. The statistical used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance F-test (One way ANOVA).


The results found that: 1) Buddhist leadership of the Phra Khattiya Wongsa school consortium administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office, overall was at a high level. Considering each aspect ordered from the highest to the lowest average, they were Dharmannutta: knowing the principles, followed by Mattannuta: knowing how to be temperate, Parisannutà: knowing the society, Attannuta: knowing oneself, Kalanyuta: knowing the proper time, Puggalannutà: knowing the individual, and the lowest average was the Atthannuta: knowing the purpose. 2) The results of comparing the level of opinions towards the Buddhist leadership, classified by position, educational qualifications, and work experience, overall was no difference. 3) Recommendations for Buddhist leadership of school administrators, school administrators should be a person with leadership appropriate to the situation in school administration, a vision should be set with clear goals to develop school both in the short and long term,  and behave as a good role model, set policies for management that were consistent with resources in school administration, there should be an opportunity for parents, communities, and external organizations to participate in school development.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา. (2565). แผนปฏิบัติการกลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา. ร้อยเอ็ด : กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา.

ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จักรชัย แก้วพิภพ. (2561). ภาวะผู้นําเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชนกพร เทียมวิไล. (2556). ภาวะผู้นำเชิงพุทธสำหรับการบริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิวัฒน์ ทรหาญ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาม่วงสว่าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว) และสุชน ประวัติดี. (2562). จริยธรรม : ปัญหา พฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์. 5(2). 131-145.

พระณัฐพงษ์ กิจฺจสาโร (พลเวียง). (2558). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 88-103.

พระอรรถวิทย์ อินฺทวํโส (เดชเถกิงไพร). (2559). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มลวิภา สิขเรศ. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงพุทธบูรณการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2023-09-19
How to Cite
ยกน้อย, สุกัลยา; ลดาวัลย์, กฤตยากร. ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 10-21, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/RJGE/article/view/2502>. Date accessed: 28 nov. 2024.