วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร

        วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ (Journal of Buddhist Philosophy Evolved) E-ISSN : 2730-2644 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิชาการของสถาบันการศึกษากับนักวิชาการของสถาบันและหน่วยงานอื่นๆ ให้มีความหลากหลายของบทความ เป็นการพัฒนาคุณภาพทางความคิดสู่สากล และเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสาขาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ  และหรือ บทวิจารณ์หนังสือ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ  (Double blind peer-reviewed) โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

      ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ จำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ  โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (1)หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25% (2)ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร (3) บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ (4)ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด” หมายเลขบัญชี “293-1-00411-1” เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานไปที่ E-mail : [email protected]

 

ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร

       1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

       2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่

       3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์

       บทความละ 3,000.- บาท เรียกเก็บเมื่อส่งบทความต้นฉบับเข้าระบบ 

        วารสารไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ทุกกรณี

กำหนดออกเผยแพร่วารสาร

         วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์  มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ  2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

         เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ คือ E-ISSN : 2730-2644  เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่  http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe

กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

        วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ  (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้ บทความจากผู้เขียนภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ  ส่วนบทความจากผู้เขียนภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ  และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความ

ไฟล์แนะนำ / ไฟล์รูปแบบ / ไฟล์ตัวอย่าง

1. คำแนะนำสำหรับผู้เขียน รูปแบบการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ และหลักเกณฑ์และวิธีการส่งต้นฉบับเพื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร 

2. รูปแบบการเขียนบทความวิจัย

    ตัวอย่าง บทความวิจัย 

3. รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ  

    ตัวอย่าง บทความวิชาการ

4. รูปแบบอ้างอิง                                                                                       

                                                                                                                                                                                                                               

จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความในวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ (E-ISSN : 2730-2644)

            วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ดังนั้นจึงกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้ 

บทบาทและหน้าของผู้เขียนบทความของวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์

1. บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น

2. ผู้เขียนบทความจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย โดยทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

3. ผู้เขียนจะต้องจัดทำต้นฉบับของบทความตาม "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน หลักเกณฑ์และวิธีการส่งต้นฉบับเพื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร”

4. หากผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้เขียนควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง

5. ผู้เขียนบทความต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์แล้ว

6. ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้นๆ จริง

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการของวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์

1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมาย และขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของบทความตามกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์

2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องใช้หลักการในพิจารณาบทความโดยอ้างอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก และต้องไม่มีอคติต่อผู้เขียนบทความและเนื้อหาบทความที่พิจารณาไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจประเมินบทความ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือในการนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจประเมินบทความและผู้นิพนธ์บทความ

5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

6. หากบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียนซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความของวารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์

1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความ การพิจารณาคุณภาพของบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก และพิจารณาบนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว

2. ผู้ประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง

3. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ตนเองได้ทำการประเมิน

4. หากผู้ประเมินบทความได้ตรวจสอบแล้วพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน

5. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่อื่นได้รับรู้

                                                                                                                     

 เจ้าของวารสาร

       สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

       ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 45000

       โทร 0-4351-8364, 0-4351-6076, 09-3439-0684, 08-7025-8380

       โทรสาร 0-4351-4618

        E-mail: [email protected]

        http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe