ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Efficiency of School Administration of Primary School Administrators under the Office of Nakhon Pathom Primary Education Educational Service Area 1

  • อารีวรรณ สุวรรณประทีป หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • สมกูล ถาวรกิจ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร โรงเรียนโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ ตำแหน่ง และระดับการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ttest และ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีที่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร


        ผลการวิจัยพบว่า


        1) ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( =3.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มี ประสิทธิภาพการบริหารระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจูงใจ รองลงมา คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการกำหนดเป้าหมาย ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการปฏิสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกัน ด้านเป้าหมาย การปฏิบัติงานและการฝึกอบรมด้านการควบคุม และด้านที่มีประสิทธิภาพการบริหารระดับมากค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร 2) ผลการเปรียบเทียบผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งและระดับการศึกษา ต่างกัน โดยรวม พบว่า ระดับประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้ท าให้ทราบว่าประสิทธิภาพการ บริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 อยู่ใน ระดับมากทุกด้าน ซึ่งเป็นตัวอย่างในการบริหารโรงเรียนอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตาม และผลการวิจัย ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารด้านการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดไม่เป็นที่พอใจ ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้และเข้าใจปัญหาเฉพาะหน้าของบุคลากรและควรพูด ให้คำปรึกษากับบุคลากร เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาให้ดีขึ้น


        The purposes of this research were 1) to study the level of school administration efficiency of school administrators, schools in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 and 2) to compare the school administration efficiency of school administrators, schools, primary education area offices Nakhon Pathom Education Region 1, classified by personal status, is the position and level of education. This research is a quantitative research. The sample group consisted of administrators and teachers. The sample size was determined by opening the table to find the size of the sample group of Crescie and Morgan. The research instruments were questionnaires with a rating scale of 5researchers. Analysis of data by computer program the statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. One-way analysis of variance (One Way ANOVA) in case of significant differences the chart will check the differences in pairs byusing the formula based on Least Significant Difference (LSD) to compare the population mean.


       The results of  the research were as follows: 


        1 ) The school administration efficiency of school administrators in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 was overall at a high level ( = 3.69). Which has a high level of management efficiency thehighest mean is motivation followed by decision making, targeting, leadership, interaction and influence. On performance and training goals, control and areas with high level of efficiency management, the lowest mean is communication.


        2 ) The results of comparison of administrators and teachers with different positions and levels of education were found that the efficiency of school administration of school administrators in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 was not different. The results of this research revealed that the school administration efficiency of school administrators in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 was at a high level in all aspects. Which is an example for other school administration to follow And the research results, the school administration efficiency of the administrators in communication is low, not satisfactory Administrators need to know and understand the immediate problems of personnel and should speak to consult with personnel. To bring the information to be developed further.

References

ขนิษฐา พลายเพ็ชร. (2557). พจนานุกรมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ธีรพงษ์ ส าเร. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียน
มิตรภาพ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ส านักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารทีส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการ ของโรงเรียนในสังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล หลักค า.(2554). การบริหารการควบคุมภายในด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษา,
คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสาวนีย์ กูณะกูง และฉัตรทิพย์.(2557). การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียน
ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรมหาบัณฑิต, สาขา
การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
พิศสวาท ศรีเสน. (2551). ภาวะผู้น าของผู้บริหารโรงเรียนหนึ่งอ าเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ของโรงเรียนใน
จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
Drucker, Peter F. (2005). The effective executive. Australia : Wadsworth.
Fayol, Henri. (1964). General and Industrial Management. London : Sir Isaac Pitman & Sons.
Likert, Rensis. (1961). New Patters of Management. Tokyo: Tosho Printing Co., Ltd.
. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. Tokyo: Tosho Printing
Co., Ltd.
Published
2020-06-05
How to Cite
สุวรรณประทีป, อารีวรรณ; ถาวรกิจ, สมกูล. ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสาร สังคมศึกษา มมร, [S.l.], v. 1, n. 1, p. 1-12, june 2020. ISSN 2697-603X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/josmbu/article/view/676>. Date accessed: 01 dec. 2024.