ปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง และระดับการศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 300 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamané) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มีลักษณะเป็นแบบตรวจเช็ครายการ (Check List) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากร (Independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง
มีค่าเฉลี่ย 2.86 เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ย 2.94 รองลงมาได้แก่ ด้านการประกาศผลการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ย 2.74 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ย 2.43 - ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประชาชนที่มีสถานะต่างกันมีปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในเขตเลือกตั้งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ด้านการประกาศผลการเลือกตั้ง พบว่ามากที่สุดคือ ควรมีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว หลังจากที่มีการนับคะแนนเสร็จทันที รองลงมาคือควรให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว แล้วพิจารณาการทุจริตภายหลัง
The objectives of research were (1) to study problems on the election of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen,
(2)to compare election problems of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, and (3) to study recommendations on the election of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization in Chum Phae constituencies, Khon Kaen. The research samples were totally 300 members of provincial administration organization council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, calculated by Taro Yamane’s formula. The research instrument was the questionnaire check list. The data were analyzed by the statistics comprised of frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation. In addition, the data analysis was conducted by the independent t-test statistic to analyze differences of people’s mean.
The research findings were as follows:
- Election problems of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, were found to be overall in five aspects at a moderate level (x̅ = 2.86). When each aspect was considered in the descending order, the aspect of electorate people was found to be at the highest level (x̅ = 2.94), followed by the aspect of announcement of election returns (x̅ = 2.74), and the aspect of election management was found to be at the lowest level ( x̅ = 2.43).
- The comparison of election problems of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, was found that, for people with different status, election problems of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, were found to be overall different at a statistically significant level of 0.05.
- The recommendations on election of members of Khon Kaen Provincial Administration Organization Council in Chum Phae constituencies, Khon Kaen, were found that, in the announcement of election returns, the item “the election returns should be instantly announced after the completion of vote counting,” was found to be at the highest level, followed by the aspect “The election returns should be known quickly and election fraud would be considered afterwards.”
References
ปราณี โภชน์เจริญ. (2549). ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดพะเยา. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พงษ์พันธ์ พรหมประภัศร. (2541). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดศรีสะเกษ. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัญชัน กฤตรนต์รัศมี. (2554). ปัญหาการบริหารจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการศึกษาอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิศักดิ์ จันทรโคตร. (2553). ปัญหาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบาย สาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.