ปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด (2) เปรียบเทียบนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด จำแนกตามเพศ อายุ และรายได้ และ (3) นำเสนอข้อเสนอแนะการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบล
ผาสามยอด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย จำนวน 7,604 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Taro Yamané จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีระดับความเชื่อมั่น เท่ากัน 0.832 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รองลงมาคือ
ด้านการให้บริการ ด้านประชาชนผู้รับบริการ ด้านระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน และด้านการบริหารการจัดเก็บภาษี
2) เปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามทัศนะของประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่แตกต่างกัน และ
3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและอุปสรรคนโยบายการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอแนะ 3 ลำดับแรก ได้แก่ บุคลากรส่วนการคลังจะต้องมีความรู้ในระเบียบ กฎหมาย ที่ชัดเจน สามารถตอบข้อซักถามได้ รองลงมาคือ ควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้มีปริมาณมากเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และควรจัดทำปฏิทินในการปฏิบัติงานและแผนการจัดเก็บภาษีแล้วดำเนินงานแผนงานนั้น คิดเป็นร้อยละ 8.14, 6.56, 5.77
The objectives of the research article were (1) to study problems and obstacles of the policy on house and land taxation at Pha Sam Yod Sub-district Administration Organization, (2) Comparison of the taxation of land and property tax according to the opinion of the people and 3) to provide advice on problems, obstacles, policies, taxation and land tax control according to people's views. The population used in this study include: 7,604 people in Loei Province. Taro Yamané sampled samples were assigned to 381 people. The tool used to collected data was a questionnaire with the same confidence level 0.83 Statistics used in data analysis are frequency, percentage, mean, and standard deviation. Testing the value of F test by one-way analysis of variance Statistically significant at .05 level.
The results of the research were found as follows:
1) Problems and Obstacles. Policy on taxation of land and property as perceived by the people. Overall, it was at a high level. When considering each aspect, it was found that the level was high in all aspects. The highest average to lowest level was the operator, the second was the service. General Legal regulations on property tax and the administration of taxation, 2) compare the problems and obstacles of the taxation policy of the people according to the opinion of the people, that people with different sexes and age have different opinions on the problems and obstacles of the taxation policy. At the .05 level, the people with monthly income differed. There was no difference in opinions on the problems and obstacles of tax collection policy and 3) recommendations on solving problems and obstacles. Tax policy on land and property tax collection found that the people have 3 suggestions. The first is that the finance personnel must have clear legal knowledge and can answer minor questions. The material should be provided sufficiently for the operation. It should also include a calendar of work and tax planning and then implement the plan. 8.14, 6.56, 5.77 percent, respectively.
References
ไพจิตร พูลสระคู. (2553). การศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีอากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มุทิตา วันดี. (2556). ปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วิมลมาศ พิลา. (2552). ปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิวรรณ สุวรรณศรี. (2553). การศึกษาปัญหาการจัดเก็บรายได้ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.