ลักษณะพุทธศิลป์ของโบสถ์และพระประธานในโบสถ์วัดโพนชัย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Abstract
วัดโพนชัยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นวัดเก่าแก่ที่คู่กับเมืองเชียงคาน เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางพุทธศิลป์ของโบสถ์วัดโพนชัยพบว่า เป็นอาคารรูปแบบศิลปะพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลศิลปะญวนที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 ส่วนพระเจ้าใหญ่ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดโพนชัยนั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์คือในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 โดยสร้างในรูปแบบศิลปะพื้นบ้าน
Wat Ponchai was located on the right bank of the Kong River, Chieang Khan Sub-district, Chieang Khan District, Loei Province. It was the ancient temple paired with Mueang Chieang Khan. Considering the Buddhist art of Wat Ponchai’s ordination hall, it was the local artistic building influenced by the Vietnamese art in the 24th Buddhist century – the 25th Buddhist century. Phra Chao Yai, the principle Buddha image in Wat Ponchai’s ordination hall, was surmised to be created in the same time with the construction of the ordination hall in the mid-25th Buddhist century, and that Buddha image was created in the local artistic style.
References
ชวลิต อธิปัตยกุล. (2556). สิมญวนในอีสาน : ความโยงใยพัฒนาการจากที่มา ที่ไปและสิ้นสุด ในห้วงมิติเวลาบนภาคอีสานของประเทศไทย. อุดรธานี : เต้า-โล้.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2542). ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
พระครูปิยสมาจาร. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ธีระวัฒน์ แสนคำ (ผู้สัมภาษณ์). (10 มกราคม 2559).
วัดโพนชัย. (2549). อนุสรณ์ในงานฉลองวัดโพนชัย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ครบรอบ ๑๐๖ ปี. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองวิริยะพัฒนา.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2555). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาว และอีสาน. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส.