การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการเขียนตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะ
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) พัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กโดยใช้แบบฝึกคัดลายมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (4) เปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกคัดลายมือเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (2) แบบฝึกเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็กสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้สำหรับการทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
โดยผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยรวมสูงขึ้น (2) หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก นักเรียนมีทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กโดยรวมสูงขึ้น (3) ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึก พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยการทดสอบหลังเรียน (x̅ = 16.20) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียน (x̅ = 24.60) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกคัดลายมือ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยการทดสอบหลังเรียน (x̅ = 17.60) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียน (x̅ = 21.10) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The objectives of the research were (1) to develop English reading-aloud skills through an English Reading-aloud Exercise for Prathomsuksa 2 students, Ban Non Sa-nguan Sib Klao Prong Wittaya School, Si Bun Rueang District, Nong Bua Lam Phu Province,
(2) to develop English capital letter writing skills through an English Letter Writing Exercise for those students, (3) to compare pretest and posttest scores of those students after learning through an English Reading-aloud Exercise, and (4) to compare pretest and posttest scores of those students after learning through an English Letter Writing Exercise. The instruments used for data collection were comprised of an English Reading-aloud Exercise for Prathomsuksa 2 Students, and an English Letter Writing Exercise for Prathomsuksa 2 Students, including their pretest and posttest versions. The statistics used for data analysis were comprised of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The findings of the research were as follows: (1) English reading-aloud skills of those students were found to be overall higher after learning through English Reading-aloud Exercises. (2) English letter writing skills of those students were found to be overall higher after learning through English Letter Writing Exercises. (3) English reading-aloud skills of those students after the pretest and the posttest through English Reading-aloud Exercises were found to be different at a statistically significant level of 0.01. In comparison, the students’ posttest scores were found to be higher than their pretest ones at a statistically significant level of 0.01 (4) English capital letter writing skills of those students after the pretest and the posttest through English Letter Writing Exercises were found to be different at a statistically significant level of 0.01. In comparison, the students’ posttest scores were found to be higher than their pretest ones at a statistically significant level of 0.01.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
_________. (2555). ความสําคัญของแบบฝึกทักษะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 แหล่งสืบค้น http://webcache.google usercontent.com/search?q= cache:0o7Va44MJPsJ:202.29.22.172/fulltext/2559/119817/ch2.pdf+&cd
=2&hl=th&ct=clnk&gl=th
จีรนันท์ เมฆวงษ์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์. กรุงเทพฯ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
เจะสูฮานา หวังพิทยา. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ Phonics Read Fast สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบูดี สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ. 4(8). (2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2014). มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ดวงใจ ตั้งสง่า. (2556). ชวนลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตอนโฟนิกส์คืออะไร ทำไมต้องเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 แหล่งสืบค้น https://taamkru.com/th.
ทัศนีย์ เทศต้อม. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชน บ้านหัวขัว โดยใช้แบบฝึกทักษะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 แหล่งสืบค้น http://www.banhuakhua.ac.th/banhuakhua/file_editor/tusanee-research.doc
ทิภากร คงทวี. (2552). การพัฒนาการเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับอวัยวะโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 จาก http://202.29.22.172/fulltext/ 2559/118203/PDF/Jiranat%20Unpen.pdf
บำรุง โตรัตน์. (2544). Linguistics for Teachers. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 466408 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปรียา โนแก้ว และประนุท สุขศรี. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พะเยา พรหมเทศ. (2549). การใช้การสอนภาษาที่เน้นคำศัพท์เพื่อเพิ่มพูนความรู้คำศัพท์และความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับก้าวหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริรัตน์ แสนมา. (2552). “การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ” เอกสารการวิจัยส่วนบุคคลประกอบการปฏิบัติราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 2.
สุชาดา อินมี, (2556), การพัฒนาการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 แหล่งสืบค้น https://tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/30865
สุปรีดา สิงห์เรือง. (2550). การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน พยัญชนะ และคำศัพท์วิชา ภาษาอังกฤษด้วยชุดฝึกการอ่าน การเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี เขต 4.