ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะ ของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

  • เยาวลักษณ์ คำบุญ

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกัน และ
(3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ตามความคิดเห็นของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 384 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใช้สูตรของ Taro Yamane การสุ่มตัวอย่างประชากร ผู้วิจัยใช้ใช้หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลนาโป่ง มาสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling random) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-Test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.82 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.23 รองลงมาคือด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.87 และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.55


            2) ประชาชนที่มีเพศ และรายได้ต่างกัน ของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


            3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ตามความคิดเห็นของประชาชน สามารถแยกเป็นด้าน มีรายละเอียดดังนี้ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานบริการสาธารณะให้เพียงพอ (2) ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต คือ ควรมีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ให้มีงานทำ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ตามความเหมาะสมของเพศ วัย และพัฒนาการของเด็ก (3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือควรจัดเก็บขยะมูลฝอยให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ (4) ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี คือ ควรพัฒนา และส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา ร่วมกันกับชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


            The Objectives of this research paper were 1) to study the opinion of people towards the role of public services in Tambol Na Pong municipality in Mueang district, Loei province, 2) to compare the opinion of people with the difference in sex, age, educational level, and income towards the role of public services in Tambol Na Pong municipality in Mueang district, Loei province, and 3) to study the suggestions about the role of. The sample group were the 384 people were determined by formula of Taro Yamane in the area under the responsibility of. In part of random sampling, the villages in the area of Tambol Na Pong municipality were used in studying by stratified sampling method by the researcher herself. The instrument used in this study was questionnaire by way of accidental random sampling. The statistics used in this study was divided into two parts: 1) descriptive statistics which consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation, and 2) and deductive statistics: t-test and One-way ANOWA of F-test.


            The results were found that:


                1) The opinion of people in four sides towards the role of public services in Tambol Napong municipality in Mueang dsistrict, Loei province was at high level in overall which had mean level at 3.82. After the data were considered in each side, the results were found that the highest mean was infrastructure side was at high level with 4.23, the second was life quality promotion side which was at high level with 3.38, and the lowest mean was religion, culture, and tradition side which was at high level with 3.55.


                    2)    The opinion of people with the difference in sex and income towards culture, and local tradition promotion of sub-district headmen and villager headmen in the area of Tambol Napong municipality in Mueang district, Loei province was not different in overall. While the opinion of people with the difference in age, and educational level towards was different at 0.05 of statistical significance.


            3) The suggestions about the role in public service side of Tambol Napong municipality in Mueang district, Loei province according to people’s opinion could be divided into each side with details as follows: 1) infrastructure side, the budget should be allocated for public service administration adequately, 2) quality of life promotion side, young children and youth should be promoted in spending leisure time usefully, or having work to do earn money or themselves and family properly as their sex, age, and child development, 3) Natural resource and environment, any waste should be gathered thoroughly and regularly, and 4) religion, culture and tradition side, important days in Buddhism should developed and promoted with community seriously and continuously.

References

ชนวิชทร์ แก้ววัน. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอ้าน. (2553). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พจนีย์ วงษ์แก้ว. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิสา นราเทียม. (2547). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเทศบาลตำบลนาโป่ง. (2554). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 2554-2558. เลย: เทศบาลตำบลนาโป่ง.
อรทัย บุญใคร่. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะ: กรณีศึกษาเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Published
2020-12-31
How to Cite
คำบุญ, เยาวลักษณ์. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการบริการสาธารณะ ของเทศบาลตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 27, dec. 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jslc/article/view/1304>. Date accessed: 29 nov. 2024.