พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

  • วโรดม ฉลวยศรี

Abstract

           การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 และ 3) ข้อเสนอแนะต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 111,480 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการจากสูตรทาโร ยามาเน่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


           ผลการวิจัย พบว่า


           1) พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย อยู่ในระดับปานกลาง โดยรวมและรายด้าน เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนในการร่วมตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในความคิด ตามลำดับ


           2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงประชามติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรดำเนินการจัดการลงมติร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คิดเป็นร้อยละ 10.75 รองลงมาคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการลงประชามติ คิดเป็นร้อยละ 8.75


          This thesis aims to study: 1) Political behavior of the people in the referendum for the constitution of 2016; 2) Comparison of the political behavior of the people in the referendum for the constitution of the year 2016, and 3) Suggestions on the political behavior of the people in voting for the constitutional referendum of the year. 2019. The population of this study was 111,480 people in Wang Sapung District, Loei Province. The samples were 400 Taro Yamane. The instrument used for data collection was a questionnaire with reliability of 0.913. The statistics used for data analysis are Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation) with one way analysis of variance  at the statistical significance of 0.05.


          The research of research were found as follws:  


          1) The political behavior of the people in the referendum for constitutional draft in 2016 in Wang Saphung district, Loei province was at a moderate level. Overall and individual The highest average to lowest ranking was participation, followed by participation in decision making. Participation in planning And in terms of participation in the ideas, respectively and


          2) Comparison of political behavior of people in the referendum for constitutional draft in 2016 in Wang Saphung district, Loei province. There was a statistically significant difference in the level of education, income, and occupation in the vote of the referendum at the .05 level, and


          3) Suggestions on the development of political behavior of the people in the referendum such as : The Election Commission should proceed with the drafting of the Constitution with honesty. 10.75% followed by the election committee. Narong should publicize the importance of the referendum. Accounted for 8.75%

References

ชัยวัฒน์ รัฐขจร. (2552). ความเข้าใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไชยพร ตัณฑ์จิตานนท์. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล กรณีศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตรใ
ณัฐดิฐ อิสระเสนีย์. (2549). พฤติกรรมการเลือกตั้งและความพึงพอใจของประชาชน ในการปฏิบัติงานของนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2555). พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน การทุจริต วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช เพียรชอบ. (2552). พฤติกรรมการใช้สิทธิทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์. เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
เอกชาติ แจ่มอ้น. (2557). พฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ศึกษากรณี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Published
2017-12-31
How to Cite
ฉลวยศรี, วโรดม. พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 73-92, dec. 2017. ISSN 2350-9406. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jslc/article/view/1312>. Date accessed: 01 dec. 2024.