ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

  • เกษม ประพาน

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง โดยเปรียบเทียบจากเพศและชั้นปีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อความพึงพอใจของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตศรีล้านช้าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ทุกชั้นปี จำนวน 114 คน/รูป โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจงให้ได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ เครื่องมือทีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .095 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ วิเคราะห์ค่า t-test independent และวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test (ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย มีความพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี เพื่อพิจารณารายด้านและรายข้อมีระดับดีทุกด้านและทุกข้อ เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนรองลงมาคือ ด้านสาระการเรียนรู้ และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือด้านหลักสูตรการเรียนการสอน 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเพศของนักศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย ไม่แตกต่างกัน ทางสถิติที่ระดับ .05 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยชั้นปีที่เรียนของนักศึกษาที่แตกต่าง มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย ไม่แตกต่างกัน ทางสถิติที่ระดับ .05


               The objectives of the research article were (1) to study the satisfaction of students with the Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, (2) to compare the satisfaction of students with Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, and (3) to study suggestions of students on their satisfaction with Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus. The research population was a total of the students of Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, and the samples of 114 students were selected by the Purposive Sampling method. The instrument used in data collection was the questionnaire with the reliability of 0.95. The data were statistically analyzed in terms of frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis test was conducted by T-test for independent samples and ANOVA (F-test) at a statistically significant level of 0.05.


            The research findings were as follows: 1. The satisfaction of the students with Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, as a whole was found to be at a high level. Separately considered in the descending order, it was found to be at a high level: the instructional innovation media, followed by the substance and the course with the lowest level of the mean scores. 2. The comparison of the satisfaction of the students with Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, classified by gender, was not found to be different at a statistically significant level of 0.05. And the comparison of the satisfaction of the students with Bachelor of Political Science Program in Government, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, classified by class, was not found to be different at a statistically significant level of 0.05.

References

จันทร์เจ้า สุภรรุ่งเจริญ. (2556). วิจัยความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกลทางอเล็กทรอนิกส์) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ. 33.
ณีรนุช จงอารี. (2544). ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อการใช้บริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สาขาการอุดมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และสินีนาถ วิกรมประสิทธิ. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ หลักสูตรบริหารธุรกิจ (4 ปี) คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2557). คู่มือนักศึกษา. เลย: รุ่งแสง ธุรกิจการพิมพ์
________. (2554). คู่มือ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. เลย: คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วัฒนา เพ็ชรวงศ์. (2542). พฤติกรรมและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้บริการ “13”. วิทยานิพนธ์ บธม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วิภาวี ศรีทาสร้อย. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน: กรณีศึกษารายวิชา 201-305 วิธีวิจัยธุรกิจ.
วิมลพรรณ มุกธวัตร. (2555). ประเมินการใช้หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด.(2556). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ (Business Research).
สาวิตรี สมบูรณ์จันทร์. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อหลักสูตรบัญชี 4+1 ของคณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อนัญญา โกษาจันทร์. (2556). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุดรธานี.
อังสนา ศรีประเสริฐ. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหอการค้า.
Published
2020-12-31
How to Cite
ประพาน, เกษม. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 105, dec. 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jslc/article/view/1314>. Date accessed: 29 nov. 2024.