พุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

THE BUDDHISM-RELIED INTEGRATION OF ADMINISTRATION OF THE CHILD DEVELOPMENT CENTERS IN THE LOCAL ADMINSTRATION AREA OF PHON SAI DISTRICT, ROL ET PROVINCE

  • ประสงค์ ชินศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการนำพุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น ครูผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่า t-test และ F-test               


ผลการวิจัยพบว่า 1. พุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติพุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ข้อเสนอแนะพุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ชุมชน/มีความยินดีให้ผู้ปกครอง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องด้วยความเที่ยงธรรม ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานจัดการศึกษาเด็กเล็กอย่างถ่องแท้และความจัดอบรมบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

References

กรมการปกครอง. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดงกรมการปกครอง.

ที่ทำการปกครองอำเภอโพนทราย. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่นอำเภอโพนทราย 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานที่ทำการปกครองอำเภอโพนทราย.

พิมพ์พิชชา ศรีลับซ้าย. (2562). การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของผู้บริหารการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(2). 204-219.

ลภัตสดา นราพงษ์, ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์. (2562). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 25(2). 184-196.

วิเลขา ปรีชา. (2560). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตศึกษา. 14(67). 137-144.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สมใจ พรมทองบุญ. (2559). ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
Published
2023-11-15
How to Cite
ชินศรี, ประสงค์; โพธิ์ชัยหล้า, พรพิมล. พุทธบูรณาการการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 3, n. 1, p. 15-26, nov. 2023. ISSN 2774-1001. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/MBUPJ/article/view/2489>. Date accessed: 28 nov. 2024.