การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

A STUDY OF SCIENCE LEARNING ACHIEVEMENT AND SCIENTIFIC PROBLEMS SOLVING USING PROBLEM-BASED LEARNING WITH STEM EDUCATION IN WORK AND ENERGY OF EIGHT GRADE STUDENTS

  • สรวีย์ นาคเกษม หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
  • ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาค่าขนาดของผลจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประชาบำรุงกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาดของผล ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
 ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70                             
          3. ขนาดของผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์  มีค่า 5.39 อยู่ในระดับมาก                                                   
          4. การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน                                                  
          5. การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์iร้อยละ 70
          6. ขนาดของผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่า 2.21 อยู่ในระดับมาก


Abstract


          The purposes of this research were to: 1) study the science learning achievement of students before and after learning by using problem-based learning with STEM education, and after learning with the set criteria of 70 percent. 2) study the scientific problem solving of students before and after learning by using problem-based learning with STEM education , and after learning with the set criteria of 70 percent. and 3) to study the effect size by using problem-based learning with STEM education on science learning achievement and scientific problem solving. The research target, derive by purposive selection, was 24 grade eight students who was studying in the first semester of the academic year 2020 at WatPracha bamrungkit  School. The research instruments consisted of: 1) 4 lesson plans, for 16 hours learning, based on problem-based learning with STEM education for grade eight students. 2) a science achievement test of 32 questions and 3) a test on problem scientific solving of 20 questions. Data were analyzed with mean, standard deviation percentage and effect size.
The findings of this research were as follows:                                                              


          1. the students’ science learning achievement after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than that of before.                                  
          2. the students’ science learning achievement after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than the set criteria of 70 percent.               
         3. the results of the effect size by using problem-based learning with STEM education On academic achievement in the science learning achievement of 5.39 in the high level. 
          4. the students’ problem scientific solving after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than that of before.   
          5. the students’ problem scientific solving after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than the set criteria of 70 percent.
         6. the results of the effect size by using problem-based learning with STEM education On academic achievement in the scientific problem solving of 2.21 in the high level.

References

กรริสา จันทร์สุวรรณ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถใน การแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), 1- 16.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นารินทร์ ศิริเวช. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตรศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). สทศ. ประกาศผลสอบ O-NET ปีการศึกษา 2559 จําแนกตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้ง ภูมิภาค รายสาระ. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2560 จาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน): http://www.niets.or.th/

สุชิน เพ็ชรักษ์. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาในประเทศไทย (Constructionism) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักมาตรฐานและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.

Hmelo, C.E., & Lin, Xiaodong. (2000). Becoming self- Directed learners strategy development in problem-based learning. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Klopfer, L.E. (1971). “Evaluation of learning in science”, Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill hook company, 574–580.

Weir, John Joseph. (1974). Problem solving is everybody’s problem. Science Teacher, 4, 16-18.
Published
2020-12-15
How to Cite
นาคเกษม, สรวีย์; ลาตวงษ์, ธนาวุฒิ; ศิริสวัสดิ์, เชษฐ์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/1090>. Date accessed: 28 nov. 2024.