พระพุทธรูป : สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า

  • พระมหาสมเจต สมจารี หลวงกัน นิสิตหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

พระพุทธรูปนั้นจัดเป็นพุทธศิลป์แขนงหนึ่งในประเภทประติมากรรม มีประวัติในการสร้างที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกยังมีข้อโต้แย้งกันแบ่งเป็นสองนัย คือ เกิดในยุคสมัยของพระเจ้ากนิษกะ หรือในยุคสมัยของพระเจ้ามิลินท์ ในอินเดียพระพุทธรูปแบ่งออกเป็น 5 สมัย คือ คันธาระ มถุรา อมราวดี คุปตะ และปาละ - เสนะ ส่วนอาณาจักรไทยแบ่งได้ 7 สมัย คือ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับการสร้างพุทธรูปนั้นยังยึดถือเอาพุทธจริยา มาเป็นแบบในการสร้างเรียกว่า ปาง เนื้อหาสาระเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในพุทธประวัติ


คุณค่าในพระพุทธรูปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หลักพุทธปรัชญาฝ่ายกุศลธรรมที่ควรเจริญมีคุณค่าทำให้เกิดปัญญาในการคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และหลักพุทธปรัชญาฝ่ายอกุศลธรรมที่ควรกำหนดละ ควรงดเว้น มีคุณค่าทำให้ห่างไกลจากความชั่ว ความเสื่อมเสียทั้งหลาย ที่มีมูลเหตุมาจากกิเลสตัณหาภายในจิตใจ และมีคุณค่าเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้กระทำอกุศลกรรมต่าง ๆ


ABSTRACT


The Buddha image was a branch of Buddhist arts in sculpture. The first creation record of the Buddha image had two different ideas; one said that the Buddha image was firstly created in King Kanisaka’s period and the other in King Milinda’s period. The Buddha image in India was divided into six periods; i.e. Gandhara, Mathura, Amaravati, Gupta, and Pala - Sena. In Thailand, the Buddha image was divided into seven periods; Dvaravati, Srivijaya, Lopburi, Chiangsaen, Sukhothai, Ayuthaya and Ratanakosin. The creation idea of the Buddha image was expanded from the Buddha’s behavior and some contents in the Life of the Lord Buddha. The position of the Buddha image was called ‘posture’.


The core value of Buddhist Philosophy appeared on Buddha image could be classified into two parts; the Buddhist philosophy that should be cultivated in order to create wisdom in solving problems, and the Buddhist Philosophy that should be refrained from in order to distance one’s self from evils, defilements and unwholesome actions.

Published
2016-06-30
How to Cite
หลวงกัน, พระมหาสมเจต สมจารี. พระพุทธรูป : สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 94-111, june 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/111>. Date accessed: 01 dec. 2024.