มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ตอนอาวุธของสินสมุทร

Metaphors Phra Aphaimani Scene The Weapons of Sinsamut

  • ผศ.ชวลิต ผู้ภักดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

การวิเคราะห์ในบทนี้ เพื่อที่จะหามุมมองที่เชื่อว่า ท่านสุนทรภู่คงไม่สร้างเรื่องขึ้นเพียงเพื่อแก้รำคาญ หรือแก้จนไปตามประสา ผู้วิเคราะห์เชื่ออย่างมั่นใจว่า เจตนาที่ลึกกว่าก็คือการแฝงฝังขุมทรัพย์ทางความคิดให้ผู้อ่านได้สำเหนียกนึกเป็นแน่ ซึ่งการวิเคราะห์ทั้งหลายทั้งปวงต้องอาศัยบริบทแห่งสภาพการณ์ของสังคมทั้งก่อนหน้านั้น เหตุการณ์ในขณะนั้น และการคาดการณ์ในอนาคต ตลอดจนการประมวลความรู้จากศาสตร์ต่างมาเป็นเหตุและปัจจัยประกอบในการดำเนินเรื่อง


บทวิเคราะห์ที่นำมาพิจารณาคือ กล่าวโดยทางพันธุศาสตร์แล้ว สัตว์ต่างเภทอาจผสมพันธุ์กันได้ และอาจมีลูกเต้าได้ หากแต่ว่า ลูกที่เกิดมานั้นจะแพร่พันธุ์หรือสืบเชื้อสายต่อไปไม่ได้ เช่น ม้า ผสมกับ “ฬา” หรือ ที่ปัจจุบัน เขียนว่า “ลา” ลูกผสมนั้นเรียกว่า “ฬ่อ หรือ ล่อ” แต่ ล่อ กับ ล่อ ไม่อาจสืบทอดต่อพันธุ์ได้ ยังต้องใช้ ม้า กับ ลา ต่อไป จึงจะได้ ล่อ ตัวใหม่ ดังนั้น นางผีเสื้อสมุทรก็ดี นางเงือก ก็ดี ที่เป็นชายาของพระอภัยฯ ตามที่ท่านสุนทรภู่กำหนดให้เป็นตัวละครในเรื่องนี้ โดยเจตนาก็คือ ท่านต้องการให้เป็น สัญลักษณ์ของหญิงเท่านั้น


อาวุธของสินสมุทร ที่สุนทรภู่ให้นั้นคือ เขี้ยว อันเป็น อาภรณ์ประดับเด่นให้ประทับใจของผู้พบเห็นนั่นเอง ดังในคำประพันธ์ที่แสดงให้เห็นว่า“มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา”


“เขี้ยว” แท้จริงแล้ว คือ ความคมแห่งคารม หรือคำพูดที่มีแต่ความจริงใจนั่นเอง ที่ยังประโยชน์ในอันที่จะสยบศัตรู ฝูงชนที่เกรี้ยวกราด และแม้แต่สตรีเพศ อย่างชาญฉลาด สังเกตได้จากการพูดของคนที่พูดจาอ้อมแอ้ม หรือไม่มีสัจจะจะพูดอยู่ในลำคอ ไม่เปิดปากไม่เห็นแม้แต่ไรฟัน เขี้ยวย่อมไม่ปรากฏชัด


Abstract


The analysis in this chapter was to views on that Sunthornphu not just to make up the nuisance or solve a manner as to analysts believe that the confidence with the intent is to more deeply embedded trove of ideas that readers could perceive. This analysis relies catalysts context of the circumstances of the previous one in the event and forecasts for the future as well as the students' knowledge of science and reason as a factor in the story.


Analysis should consider in genetics, then Illness may be breeding animals and may have receptions. But if a child is born to not reproduces or descend for mix with the "horse" or the saying "donkey" hybrid called "Lo or mules," but the mules not descend. Thoroughbred horses and donkey are also required for mules always.


So the Giantess and the mermaid who are wife of the royal Aphaimani prince as Sunthornphu defined as a character in the story. The intention is he want it to be the women only.


Weapons of Sinsamut, as the teacher, poet of the Rattanakosin era, that is the canines adorned the robes of a dominant impression of the spectator itself. As the verse suggests that " fangs like a garnish Mother." "Fangs" is actually the definition of graders or words, but sincere enough. Also in order to defeat the enemy. The crowd fury and even women wisely observed by the speech of those who speak hesitantly or speak no truth in the throat. Do not open your mouth, not even the teeth. Canines are not evident.

Published
2017-12-29
How to Cite
ผู้ภักดี, ผศ.ชวลิต. มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ตอนอาวุธของสินสมุทร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 36-48, dec. 2017. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/166>. Date accessed: 01 dec. 2024.