รูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลระดับประถมศึกษา : ศึกษากรณีโรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม จังหวัดกาฬสินธุ์

The Model Development of Reading Skill as Efficiency and Effectiveness in the Primary School: A Case Study of Kamphonthong Secondary School in Kalasin

  • ทองคำ เกษจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

Abstract

การอ่านเป็นกิจกรรมที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ ช่วยให้มนุษย์พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ การอ่านจึงจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมและมีความสำคัญประการหนึ่งต่อการพัฒนาประเทศ บทความวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 2 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 5 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ APP กล่าวคือ ความใส่ใจ (Attention) ทางการเรียนของครูในโรงเรียนและผู้ปกครองที่บ้านในการส่งเสริมการอ่าน (Pratice) โดยมีการประสานความร่วมมือกันพัฒนาอย่างเป็นระบบ (Participate) ด้วยการกวดขันของครูและผู้ปกครองในเรื่อง การทำการบ้านและการอ่าน ส่งผลให้ทักษะการอ่านของนักเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


Reading is an activity of searching for knowledge, it helps people in developing one’self. Therefore, reading is necessary for living in society and for developing the country. This research paper is a qualitative research that its objectives was to study a model of reading skill development of Kamphonthong Secondary School, Kamalasai district, Kalasin. The targets of this research consisted of 1 director and 1 teacher, 5 parents’ students, and 25 primary students grade 3-6. Data collection was analyzed by means of content analysis with Atlas.ti program. The finding of this research was revealed that the model of reading skill development as efficiency and effectiveness is APP (A= Attention,  P= Practice, P= Paricipate) consisting  attention (A) of teachers in school and parents at homes in supporting of reading (P) by closely cooperation with each other in terms of doing home works, reading assignments (P). As a result, students have effective and efficient reading skill.  

Published
2018-12-21
How to Cite
เกษจันทร์, ทองคำ. รูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลระดับประถมศึกษา : ศึกษากรณีโรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 64-71, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/290>. Date accessed: 01 dec. 2024.