การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารสุขภาพในรายวิชาโครงงานวิชาชีพอาหารและโภชนาการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษา
The Development of Teaching and Learning Activities to Enhanch Creattive Thinking on Health Food Processing in Vocational Project of Food and Nutrition Diploma Students in Vocational Education Commission.
Abstract
การวิจัยเรื่อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารสุขภาพจากข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารอาหารสุขภาพ และการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า :
- องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหาร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 887.961, p=.000, df = 731, X2/df= 1.215, RMSEA = 0.021)
- กิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารสุขภาพที่สำคัญโดยพิจารณาจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดของแต่ละด้าน คือ 1) ความคิดริเริ่ม; ดูภาพอาหาร ชมการแข่งขันการแปรรูปอาหาร และการทัศนศึกษาร้านอาหารสุขภาพ 2) ความคิดคล่อง; เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสุขภาพมาให้ความรู้และฝึกการออกแบบการแปรรูปอาหารสุขภาพจากพืชหลายชนิดที่นำมารวมกัน 3) ความคิดยืดหยุ่น; ฝึกกำหนดรายการอาหารสุขภาพจากสมุนไพรอื่นที่สามารถใช้ทดแทนสมุนไพรที่หายาก และ 4) ความคิดละเอียดลออ; การเข้าร่วมการแข่งขันการแปรรูปอาหารที่ต้องใช้ ความประณีต ความสวยงามและความถูกต้องครบถ้วน
- ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ พบว่า กลุ่มที่ใช้กิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มไม่ใช้กิจกรรม
Abstract
The objective of this research were; 1) The CFA of creative thinking on health food processing with the evidence data. 2) To developed students creative thinking in the health food processing Project.
The findings were as follows:
- The creative thinking factors has corresponded to the evidence data. (X2= 887.961, p=.000, df = 731, X2/df= 1.215, RMSEA = 0.021)
- The learning and teaching activities to enhance creative thinking of students on health food project were; 1) Originality: considered the food pictures, participating to food processing competition, and study tour to health food restaurants. 2) Fluency: invited health food experts to shared their experience to students, practice to designs health food from various plants. 3) Flexibility, created health food menu from alternative herbs. 4) Elaboration: participate to health food processing competition that concentrated on elaboration, attractiveness, and complete function.
- The activities group was higher creative thinking than the regular one.
Published
2018-12-28
How to Cite
ช่างล้อ, สุภารัตน์; อเนกสุข, สมโภชน์; อนุศาสนนันท์, สุรีพร.
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารสุขภาพในรายวิชาโครงงานวิชาชีพอาหารและโภชนาการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษา.
วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 225-234, dec. 2018.
ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/298>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
บทความวิจัย
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย