รูปแบบการดำเนินการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Model of the project to build a harmonious reconciliation with the principles of Buddhism. "Precepts village 5 "of Buddhist Monks in the Surajthani province.

  • พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ สืบกระพันธ์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปัณณพงศ์ วงศ์นาศรี วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ
         งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.เพื่อศึกษาหลักเบญจศีลที่สร้างความปรองดองสมานฉันท์ 3.เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมเกี่ยวกับ การดำเนินการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้เลือกพระสังฆาธิการ จำนวน 17 รูป เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบการเดินทางเข้าพื้นที่ แบบสำรวจสภาพพื้นที่เบื้องต้น แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม แบบบันทึก แบบศึกษาประวัติชีวิต และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กล่องถ่ายรูป เป็นต้น แล้วตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า พระสังฆาธิการที่ได้ดำเนินโครงการนี้ เป็นการทำงานร่วมกันทั้งธรรมยุตและมหานิกาย ทุกระดับชั้นตั้งแต่เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด โดยฝ่ายปฏิการงานต่างๆอยู่ที่เลขานุการของเจ้าคณะที่ทำงานร่วมกัน มีการเก็บข้อมูลของผู้ที่เข้าร่วมโครงการทั้งพระสงฆ์ ประชาชน เยาวชน ผู้นำชุมชน ส่วนงานราชการ เข้าสู่ระบบสารสนเทส ส่วนการเก็บข้อมูลในการทำวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้เลือกพระสังฆาธิการที่อาศัยและเป็นเจ้าคณะในเขตพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอำเภอ และพระสังฆาธิการที่เลือกนั้นมีทุกระดับและมีปฏิปทาที่มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด
ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติตามหลักเบญจศีล ทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าทันต่อการแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนั้น ยังสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับพระพุทธศาสนา โดยอาศัยพระสังฆาธิการคอยขับเคลื่อน และทำงานร่วมกัน ทำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธามากขึ้น เพราะเห็นบทบาทของพระสงฆ์ที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนต่างๆ ความขัดแย้งในสังคมลดลง เห็นได้จากการสังเกตุพฤติกรรมของประชาชนที่ให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น หน่วยงานราชการให้ความร่วมมือในโครงการมากขึ้น ตลอดถึงการลงทะเบียนในระบบสารสนเทศมากขึ้น
ผลการวิจัย พบว่า ด้วยเหตุที่การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านศีลห้า มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน การดำเนินงานต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเข้ามาช่วย ส่วนการประสานงานกับส่วนราชการในระดับจังหวัด ควรเป็นการดำเนินงานของผู้กำหนดนโยบาย เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้การตื่นรู้ของประชาชนมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานของคณะสงฆ์บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี


ABSTRACT
        The objectives of this qualitative research were; 1. To study the role of administrative monks in Suratthani province, 2. To study the Five Precept principles for reconciliation building, and 3. To find an appropriate model of reconciliation building project based on Buddhist principle in “The Five Precepts Observation Community” of administrative monks in Suratthani province. The data were collected from 17 administrative monks by area survey, in-depth interviews, focus group discussions, participatory observation, and biographic study, and then analyzed by content analysis.
The results of the study found that:
The administrative monks from abbots, sub-district, district and provincial administrators of both Mahanikaya Sect and Dhammayutta Sect work together through the administrative secretary office. The data of project participants; monks, communities, people, government sectors and private sectors were filed in information technology system. The administrative monks in different levels used in this study were living in Mueang district of Suratthani province.
The Five Precepts observation could make people live together in society happily, create progress to the nation and strengthen the establishment of Buddhism. The move and work of administrative monks arouse the faith of people in Buddhism since people noticed the role of administrative monks in helping society and reducing social conflicts. The evidence came from the increasing number of people participating in Dhamma practice, cooperation of government sectors and enrollments in information technology system.
The operation of the Five Precepts observation community project has a clear strategy, obtains cooperation from sectors and agents and receives supportive budget from the state. The operation with state agents in provincial level should come from the project executives so that the workforce can carry on the work in the area thoroughly. Again, a regular public relation can alert people and result to achievement of Sangha performance.


 

Published
2018-12-28
How to Cite
สืบกระพันธ์, พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ; คำเมืองแสน, บุญร่วม; วงศ์นาศรี, ปัณณพงศ์. รูปแบบการดำเนินการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 190-203, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/306>. Date accessed: 01 dec. 2024.