การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Performance of School Administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office

  • สำราญ พลอยแสง สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตามการรับรู้ของผู้บริหาร และ 2)  ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 145 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของผู้เรียน  บุคลากรและชุมชน  ด้านการร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์ ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา  ด้านการเป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการในหน่วยงานของตนได้ ด้านการปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร ด้านการพัฒนาแผนงานขององค์การให้ สามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง ด้านการสร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์  ด้านการแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสาร  ในการพัฒนา   ด้านการดำเนินการและรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ  และ ด้านการพัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ 2) ผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีความคิดเห็นตรงกันว่า การปฏิบัติงานนั้น จะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ก่อนตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมใด ๆ ควรปรึกษากับบุคลากรและกรรมการสถานศึกษาก่อน โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาผู้เรียน บุคลากร  และชุมชน


           นอกจากนี้ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ยึดผลสำเร็จของงานเป็นเกณฑ์ และจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ติดตามข่าวสาร รู้เท่าการเปลี่ยนแปลง ให้ความร่วมมือกับชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ในการพัฒนาองค์กร 3)  ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง คือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาบ่อย  หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้โรงเรียนเป็นฐานต่าง ๆ ครูผู้สอนมีภาระงานหลายด้าน บุคลากรมีการเปลี่ยนถ่ายตลอดเวลา การทำงานไม่เป็นระบบ ปัญหาบุคลากรไม่สามัคคีกัน และโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากร ด้านงบประมาณที่เพียงพอต่อการบริหารงานของโรงเรียน  


ถึงแม้ว่า  การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ยังสามารถปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นผลการสัมภาษณ์ยังพบว่า ผู้บริหาร ควรกำหนดแผนงาน และเป้าหมายที่ชัดเจน และปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก รวมถึงให้ความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


The purposes of this study are 1) to examine the operations of the managers of educational institutions in the Primary  Educational Service Area in Ang Thong according to their perceptions and 2) to consider the problems, obstacles and suggestions about the operations.


This research study utilized both quantitative and qualitative methods. The population consisted of 145 managers of the educational institutions. The research equipments were questionaires with five scales and interview. Descriptive statistics are used for analyzing data with frequency, percentage, mean and standard deviation


It is found as follows. 1) The overall image of the operations is very good. Specific terms were sorted by the descending order of means as follows: the decisions to do activities by considering the effects on the developments of learner, people and communities; the creative co-operations with the communities and other organizations; the good role models; the academic ctivities for improving educational occupations; the leadership and organizational development;
the organizational operations by the focuses on permanent results; the improvements of organizational plans for applications; the provisions of the opportunities for the developments in all situations; the searches for and uses of information for developments; the operational developments and systematically reports of academic results; the focuses on the developments of colleagues’ potentials; and the managerial developments and innovations for improving results, respectively. 2) According to the interviewing result of the managers about the methodology, the managers have agreed that the method should be done with plane and have a clear goal. Before making any decision, consulting with personnel and educational committee should be done with regarding of the effects about the improvement of learners, personnel, and community. Moreover, the manager also support personals to work with all of their effort, build harmony in team, consider the result, and always be ready to improve, follow the news, have a agility, collaborate with community and other organization to improve organization. 3) The problems, obstacles and suggestions for the operations were as follows. The educational policies were changed frequently. The schools were used as bases by other organizations. The instructors had burdens in many aspects. The workers have turned over all the time. Their operations were not systematical. The workers did not work harmoniously. The sizes of the schools were small without supports regarding workers and budgets for managing the schools.


           Although the method of education managers, Primary Educational Service Area in Ang Thong, overall was in high level, the education manager in Primary Educational Service Area in Ang Thong can improve and adjust their method to be better. Additionally, the interviewing result found that the educational managers should decide the plan and clear goal, and follow the plan that has been decided by considering the benefit for the learner as top priority and also collaborating with outside organization in order to improve organization to be successful as the planned goal.


 

Published
2020-01-20
How to Cite
พลอยแสง, สำราญ; บุศรากูล, ธีระพงศ์. การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 103-117, jan. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/324>. Date accessed: 01 dec. 2024.