Instructional Leadership ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Instructional Leadership of School Administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office

  • พรรณนพพร สินน้อย สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ใน 3 ด้าน ได้แก่  ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน  ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน และด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 


  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ปีการศึกษา 2560  จำนวน 285 คน  โดยการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)  ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และมีความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)


ผลการวิจัย  1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.37) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ( = 4.45) รองลงมา คือ ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน ( = 4.35)ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ( = 4.31)  และ 2) ผลการสัมภาษณ์ครูหัวหน้างานฝ่ายวิชาการ จำนวน 5 คน พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่า ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายทางวิชาการ ชัดเจน และง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย มีการประชุมชี้แจงด้านเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียนให้ครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษามีการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูและการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยี มีการสังเกตการสอนด้วยการเยี่ยมชั้นเรียนอย่างไม่เป็นทางการ พบครูเป็นรายบุคคลเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับ ความก้าวหน้าด้านการเรียนของนักเรียน ใช้ผลการทดสอบเพื่อการประเมินความก้าวหน้าตามเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียน และตรวจสอบผลการประเมินระหว่างเรียนของนักเรียน ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างแห่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน พบปะ พูดคุย ซักถามกับครูและนักเรียนอย่างเป็นกันเอง  พูดชื่นชม/ชมเชย และให้กำลังใจครูในการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้ครูพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ กำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนในการให้รางวัลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมทางวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาที่ครูสอน เชิญวิทยากรจากภายนอกที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนสมัยใหม่มาให้ความรู้แก่ครูในโรงเรียน


ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง มีภาวะผู้นำทางวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอื่น นอกจากนั้นผลการสัมภาษณ์ครูหัวหน้างานฝ่ายวิชาการ จำนวน 5 คน พบว่า ความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาขึ้นอยู่กับการกำหนดเป้าหมายทางด้านงานวิชาการที่ชัดเจน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมครูและผู้เกี่ยวข้อง การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูและการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ และการสนับสนุนให้ครูได้พัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ


The purposes of this research were to study the Instructional Leadership of School Administrators under the Office of Angthong Primary Educational Service Area in three dimensions: the targeting of schools, learning management, and provide that the conditions to promote learning. Compare the Instructional Leadership of School Administrators by classified gender, age, educational background, and work experience.


Researcher use mix method for organize research. The samples include 285 teachers in school in Angthong district under Angthong Primary Education Service Area Office of the 2017 academic year, by stratified Krejcie & Morgan and sampling the school’s class sizes so simple random. The instrument used in this research was a questionnaire rating scale has five levels, Index of Item – objective static error 0.05, the reliability equal .95 . The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation,


The results showed that: 1) The Instructional Leadership of School Administrators under Angthong Primary Education Service Area found that overall at a high level ( = 4.37).    Indescending order form the most least is the targeting of schools ( = 4.45). Learning management  ( = 4.35). Provide that the conditions to promote learning ( = 4.31).  2) Results from interviews with five teachers in academic department opinioned that mission and goals are clear and easy to follow. Teachers and participant are involved in targeting school by meeting the academic goals together with teachers, students and participant. Learning management, use the test results to assess progress on the academic side of the school.  Monitoring and evaluation of students during class. Strengthening the atmosphere of learning. School administrators create schools of learning and taking their students learning outside the school, meet the teachers and students to ask questions in a


friendly. Speaking appreciation / admiration to teachers to do good work. Support teachers to develop professional standard. Encourage teachers to be trained in accordance with academic subjects taught. Invitation external speakers who are knowledgeable about modern teaching techniques to educate teachers in the school. 


                    This research shows that School Administrators under Angthong Primary Education Service Area Office Overall Instructional Leadership is at the highest level. Can be a model for school administrators in other educational areas. In addition, results from interviews with five teachers in academic department opinioned that the success of school administrators depends on Clear instructional performance goals. Promotion of participation in teachers and related parties. Support for teaching and learning of teachers and learning management of students to achieve learning goals. Support teachers to develop professional standard.

Published
2020-02-25
How to Cite
สินน้อย, พรรณนพพร; บุศรากูล, ธีระพงศ์. Instructional Leadership ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 187-199, feb. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/327>. Date accessed: 01 dec. 2024.