บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

School Administrators’ Roles on Promoting Classroom Research in Schools under Angthong Primary Educational Service Area Office

  • อมรรัตน์ ชนะเลิศ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง   2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน  โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง  โดยจำแนกตาม  เพศ  อายุ   ประสบการณ์ด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน    


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง   ปีการศึกษา 2560     ผู้วิจัยหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของ  Krejcie and Morgan  (นวลอนงค์  บุญฤทธิพงศ์, 2552, หน้า 136)  ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  285  คน  หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที   และการทดสอบค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)


ผลการวิจัย  1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง     โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (  = 4.63) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ด้านการให้ความสําคัญกับงานวิจัยในชั้นเรียน


(  = 4.68) รองลงมา คือ ด้านการให้ความยอมรับนับถือต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน  (  = 4.66)   ลำดับที่สามคือ ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน  (  = 4.65)  และด้านการส่งเสริมให้เกิดความสําเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน(  = 4.58)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของครู (  = 4.57) เป็นประโยชน์ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง   ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น


          This research aimed 1) to investigate the school administrators’ roles in promotion of conduction classroom research of school teachers under the office of Angthong primary education service. 2) Compare the school administrator’s roles in promotion of conducting classroom research of school teachers under the Office of Elementary Educational Service Area Zone, Angthong as viewed by 285 school staffs by Simple Random Sampling. They were acquired following the Table for Determining Sample Size from a Given Population (Krejcie and Morgan).The instrument used in this research was a five-rating questionnaire. The statistics employed were mean, standard deviation, t - test, F - test, and one - way analysis. If found the difference statistically significant 0.05 level, using Least Significant Difference (LSD). The result of research was as follows:


  1. The school administrators’ roles in promotion of conducting classroom reach of school teachers under the Office of Elementary Educational Service Area Zone, Angthong as whole and in each aspects were at a high level (x = 463). In this order from the highest to the lowest mean: the importance of research in the classroom (x  = 4.68), respect for the revered teacher who do research in the classroom ( x  = 4.66), having responsibility for teacher research in the classroom ( x = 4.65), to foster the success of research in the classroom

(  = 4.58), and promoting progress in the duty of the teacher (x   = 4.57). Beneficial to the role of education in promoting research in the classroom for school administrators under the office of Angthong primary education service have a much more suitable


Keyword:School Administrator, Classroom research promotion   

Published
2020-02-25
How to Cite
ชนะเลิศ, อมรรัตน์; บุศรากูล, ธีระพงศ์. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 201-217, feb. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/328>. Date accessed: 01 dec. 2024.