การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ เรื่องศาสนากับการดำรงชีวิต วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6

The Development of Learning Activities Through Yonisomanasikarn on topic Buddhism and the way of life in Social Studies Subject, Religion and Culture of Primary School (Grade) 6 Students

  • สุทธินันท์ พรหมพันธุ์ใจ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • วิญญู เถาถาวงษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • กิตติยานนท์ วรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ศุภฤกษ์ ต่อพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระวสันต์ เกษงาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • สุทธิพงษ์ สายาพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Abstract

บทคัดย่อ


        การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดวิธีคิดที่ถูกต้อง การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ (2) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวน 43 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการสอนแบบโยนิโสมนสิการ จำนวน 5 แผน สอนแผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความยาก ระหว่าง 0.51 ถึง 0.81 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21–0.88 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของ Lovett ได้ค่าเท่ากับ 0.87 แบบวัดเจตคติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.45-0.49 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมุติฐานด้วย Paired t–test


ผลการวิจัย พบว่า


  1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ มีเจตคติต่อการเรียนเพิ่มขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract


        The Development of Learning Activities Through Yonisomanasikarn in Social Studies Subject, Religion and Culture of Primary School (Grade) 6 Students had good performance. It must be dependent on technique and the way to organize learning activities for knowing the correct thinking process. The purpose of this study was 1) to study and compare learning achievement of Primary School (Grade) 6 Students by organizing learning activities Through Yonisomanasikarn and 2) to study attitudes toward learning of Primary School (Grade) 6 Students. The sample of this study was 43 students of Primary School (Grade) 6 and selected only 1 room who were studying at Bannoonchai School, Sila Sub-district, Muang district Khon Kaen Province in the first semester of the academic year 2018 and it was purposive sampling. The instrument used in this study comprised of 5 lesson plans of Yonisomanasikarn for 10 periods of teaching in Social Studies Subject, Religion and Culture. Learning achievement test was multiple choices which had 4 choices. It had 30 items which had the difficulty was 0.51 to 0.81, discrimination was 0.21 to 0.88 and the reliability of the whole test which used  method of Lovett had a value at 0.87. Attitudes test which used Likert form was rating scale and there were 5 rating scale which comprised of 15 items and discrimination of (rxy) was 0.45 to 0.49. The reliability that used alpha coefficient analysis with the method of Crohbach had a value at 0.92. The statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard Deviation and Paired t–test


The research findings found that


  1. The learning achievement was after learning Activities through Yonisomanasikarn the higher score than before it. It was the statistic significant difference at the level 0.01

  2. The attitudes toward learning were after learning Activities through Yonisomanasikarn the higher score than before it. It was the statistic significant difference at the level 0.01

Published
2018-12-25
How to Cite
พรหมพันธุ์ใจ, สุทธินันท์ et al. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ เรื่องศาสนากับการดำรงชีวิต วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 458-466, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/333>. Date accessed: 01 dec. 2024.