การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

AN APPLICATION OF DHAMMA PRINCIPLES IN THE DEVELOPMENT OF TEACHERHOOD PROMOTION ACTIVITIES IN THE 21st CENTURY MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY MAHAVAJIRALONGKORN RAJAVIDYALAYA CAMPUS

  • สนิท บุญอ่อน มหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • นฤมล ชุ่มเจริญสุข มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • สำราญ ศรีคำมูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวินัยการโกวิท (บุญตอม อคฺคปุญโญ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  นี้ โดยมีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย   


วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  2) เพื่อประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  และ 3) เพื่อนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มาพัฒนาปรับปรุง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์  เทคนิคและวิธีการเลือกตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (No probability sampling) วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 


1.การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัย


มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนมากมีการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้กำหนดหน่วยกิตที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 30 หน่วยกิตซึ่งนับได้ 10 รายวิชา คณาจารย์ผู้สอนได้สอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการสอนทุกครั้ง มีกิจกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรม เช่น เกมส์ เพลง บทบาทสมติ ละคร นั่งสมาธิ สมมติสถานการณ์วิเคราะห์ อธิบาย เล่าเรื่อง และมีการพัฒนาเนื้อหารายวิชาให้มีเนื้อหาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาบูรณาการกับสื่อ ICT เพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และรูปแบบ Applications และ e-Book ด้วยเทคนิคการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครู ครูเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างบรรยากาศ สร้างแรงบันดาลใจ มีความรักความเมตตา จัดกิจกรรมที่ไม่เน้นการแข่งขันจนเกินไป นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน เสริมกำลังใจ และจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ


          2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการประยุกต์ใช้หลักธรรม ในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ควรมีการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นกรอบในการนำหลักธรรมมาพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครู พัฒนาครูให้ตรงจุด เพื่อสนองตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  และได้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนการสอน ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องทฤษฏี ควรมุ่งเน้นการนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันด้วย อาจารย์ต้องเปลี่ยนบริบทการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้น สามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่ยากได้ ควรมีการอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ได้แบบไม่มีขีดจำกัด โดยใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นหลัก


 


Abstract


          The research entitled“An Application of Dhamma Principles in the Development of Teacherhood promotion Activity in The 21st Century, Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus” is aimed : 1) to study the Dhamma Principles in The Development of teacherhood promotion activities in The 21st Century at Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus, 2) to apply Dhamma Principles in the Development of teacherhood promotion activities in the 21st Century at Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus and, 3) to study about the recommendations concerning the application of Dhamma Principles in the development of teacherhood promotion activities in the 21st Century to develop the university. This research is qualitative research. The research population and sample consist of 16 lecturers in the Faculty of Education (Teaching English) at Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The research instrument is interview. The sampling techniques used in the research are Non-probability Sampling and Purposive Sampling.  The results are analyzed by Frequency, Percentage.


The results of  the  study  review  that :


            1. There has been an application of Dhamma principles in the development of teacherhood promotion activities in the 21st Century at Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus most of the time. The lecturers in the Faculty of Education have applied Dhamma into ten 30-credit Buddhist courses as issued in the university curriculum in every class time. The activities applied are namely, games, songs, role play, drama, meditation, analytical situation, explanation, narration. There has also been the development of the course content to Dhamma by integrating with ICT media to develop into the forms of online websites, Applications, and e-book with the application of Dhamma Principles in the development of teacherhood promotion in which teachers are good role models, good teaching context building, inspring, showing kindness to students, performing non-competitive activities in which students are engaged to plan, encouraged, and to collaboratively organize the learning system.            2. Recommendations on problems and ways to solve problems in Dhamma application in the development of teacherhood promotion in the 21st Century at Mahamakut Buddhist University Mahavajiralongkorn Rajavidyalaya Campus, there should be the framed policies for the application of Dhamma to teacherhood promotion activities to develop it directly and to solve the current problems. Another suggestion is the adjust of lecturers’ teaching methodologies. Theories should not only be focused, real life benefit to the students should also be realized. Moreover, changing the teaching context for more enthusiasm and comprehension of students should be done as well as mainly use of information technology in which will enable students to unlimitedly approach the learning resources.


 

Published
2018-06-28
How to Cite
บุญอ่อน, สนิท et al. การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการพัฒนากิจกรรมเสริมความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 488-506, june 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/337>. Date accessed: 01 dec. 2024.