แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการทำวัตรสวดมนต์ของนักศึกษามหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย

The Motivation of the Participation in the Chanting Activities of Mahapajapati Buddhist College’s Students

  • พระครูสุวัฒนธรรมาภรณ์ (ภัทร เสนวรรณกุล) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย
  • สุดารัตน์ วงศ์คำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย
  • บังอร พันธนะบุญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย
  • ประคอง งามชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการทำวัตรสวดมนต์ และ 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการทำวัตรสวดมนต์


          ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 70 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของการทำวัตรสวดมนต์ 5 ด้าน ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการทำวัตรสวดมนต์ ประกอบด้วย บทที่ใช้ในการสวด ระยะเวลาที่ใช้ในการสวด ช่วงเวลาของการสวด ผู้นำในการสวด และ สิทธิประโยชน์และอานิสงส์ของการสวด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า สิทธิประโยชน์และอานิสงส์ของการสวด มีระดับความเห็นด้วยมากที่สุดทุกข้อ


Abstract


          This research had the objectives to 1) survey the opinions of Mahapajapati Buddhist College’s students on the chanting activities and 2) study the motivation that effected to the participation of chanting activities.


          There were 70 participants who were from teaching Buddhism program and teaching English program, the faculty of education. The purposive sampling was used to select the participants. Tool of research was a questionnaire. Statistics that used to analyze the data were percentage, mean and standard deviation.


          The findings of the research had shown that the 5 characteristics of motivation which consisted of types of sutra, time length of chanting, duration of chanting, leader of chanting and the privileges and the virtue of chanting. All these characteristics were in the high agreement level. When considering in each characteristic, the items of motivation characteristic were all in the highest agreement level.

Published
2018-06-28
How to Cite
(ภัทร เสนวรรณกุล), พระครูสุวัฒนธรรมาภรณ์ et al. แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการทำวัตรสวดมนต์ของนักศึกษามหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 520-533, june 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/342>. Date accessed: 01 dec. 2024.