ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

FACTORS INFLUENCING QUALITY OF STUDENT LIFE IN MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY, SRILANCHANG CAMPUS

  • กิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ประดิษฐ์ ศรีโนนยาง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พลภัทร อภัยโส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • บรรจบ โชติชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • วันชัย สาริยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

บทคัดย่อ


                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง, จำแนกตาม ปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในการวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2-4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 123 รูป/คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 93 รูป/คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่สร้างขึ้นมาตามบริบทของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และผ่านเกณ์การประเมินความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) ระหว่าง 0.50 – 1.00 โดยมีค่าความน่าเชื่อถือทั้งฉบับเท่ากับ 97.8% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  (Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


               ผลการวิจัยพบว่า (1.) นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย คุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับมาก ( = 3.83) รองลงมาเป็นด้านจิตวิทยา ด้านการเรียน และด้านสังคม โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเป็นด้านบริการจากมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.31) (2.) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย กับตัวแปรตาม คือ คุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง พบว่า การสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง (X15) ทั้งด้านการสนับสนุนทางด้านวัตถุ (X17) และด้านการสนับสนุนทางด้านวาจา (X18) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย (X16) ทั้งด้านการบริหาร (X19) ด้านการเรียนการสอน (X20) ด้านการให้บริการแก่นักศึกษา (X21) ด้านสังคมในหมู่เพื่อน (X22) และด้านอาคารสถานที่ (X23) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระดับชั้นที่กำลังศึกษา (X5) มีความสัมพันธ์ทางลบกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ อายุ (X3) ของนักศึกษา มีความสัมพันธ์ทางลบกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3.) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยโดยรวม และการสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง โดยเฉพาะด้านการสนับสนุนด้านวาจา มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ด้านการเรียนการสอน มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract


                The objectives of the research were (1) to study the level of factors – personal factors, family factors and factors of the university’s environment – influencing the quality of student life in Mahakut Buddhist University, Srilanchang Campus, (2) to study relationship between personal factors, family factors and factors of the university’s environment and the quality of student life in Mahakut Buddhist University, Srilanchang Campus, and (3) to study predictors influencing the quality of student life in Mahakut Buddhist University, Srilanchang Campus. The population of the research was a total of 123 second-year to fourth-year students in Mahamakut Buddhist University Srilanchang Campus, who were studying in the first semester of the academic year 2017, and 93 samples were selected by Taro Yamane’s sample size calculation formula. The instrument of the research was a set of the checklist form, the five-point rating scale questionnaire and the open-ended question, designed in accordance with the context of Mahakut Buddhist University, Srilanchang Campus, and with its reliability of 97.8%. The data were analyzed by the descriptive statistics, comprised of frequency, percentage, mean and standard deviation. The inferential statistics used to analyze the research hypotheses were Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.


               The research findings were as follows:  


               (1.) The quality of student life in Mahamakut Buddhist University was found to be overall at a high level ( = 3.56). Considered in each aspect, the quality of student life on the residential aspect was found to be at a high level, followed by the quality of student life on the psychological aspect, the quality of student life on the learning aspect, and the quality of student life on the social activities, and the quality of student life on the university’s services was found to be at the lowest level ( = 3.31). The factor of the university’s environment and the factor of parents’ education support were found to influence the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus at a statistically significant level of 0.01 whereas the factor of age and the factor of the university’s environment on premises were found to influence the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus at a statistically significant level of 0.05.


               (2.) The relationship between independent variables – personal facters, family factors and factors of the university’s environment – and dependent variables, the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, was found that the parents’ learning support (X15) on educational materials (X17) and on encouraging words, the university’s environment (X16) in terms of the university’s administration (X19) the university’s learning (X20) the university’s services (X21) the student’s association (X22) and the university’s premises and location (X23) were found to be positively related to the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, at a statistically significant level of .01. The factor of the student’s studying class was found to be negatively related to the quality of student life at a statistically significant level of .01 whereas the factors of the student’s age was found to be negatively related to the quality of student life at a statistically significant level of .05.


               (3.) The predictor of the university’s environment and the predictor of parents’ support, especially their support on good speech, were found to influence the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, at a statistically significant level of .01 whereas the predictor of the university’s environment on learning was found to influence the quality of student life in Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus, at a statistically significant level of .05.

Published
2018-12-26
How to Cite
ทาวงศ์ษา, กิตติพัฒน์ et al. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 545-565, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/353>. Date accessed: 01 dec. 2024.