ความสันโดษของเยาวชนไทย: การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ

Santutthi of thai youth : model validation and interaction effect between family, peer group and media literacy

  • กรรณิกา ไวโสภา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสันโดษ เมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัว การคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ ที่ส่งผลต่อความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุความสันโดษของนักเรียนเมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความสันโดษ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อม จาก การรู้เท่าทันสื่อ การคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม การถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัว และการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 89  2) การทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนและ การรู้เท่าทันสื่อ เทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่าง การถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลทางตรงทางลบเท่ากับ -0.16 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อไม่มีอิทธิพล ต่อความสันโดษของนักเรียน และเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่าง การคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อนกับการรู้เท่าทันสื่อ มีอิทธิพลทางตรงทางบวกเท่ากับ 0.18 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทอมปฏิสัมพันธ์ ทั้ง 3 โมเดลนี้ อธิบายความแปรปรวนของความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 56, 70 และ 81 ตามลำดับ


The objectives of the research were to examine the validation of the causal model of contentment in relation to Philosophy of Sufficiency Economy, and to test interaction effects of factors: family socialization, peer group conformity and media literacy, influencing contentment of Mathayomsuksa students.


The findings were as follows 1) With Sufficiency Economy Philosophy-based life as a result variable, the causal model of contentment of Mathayomsuksa Students was found to be consistent with empirical data. Contentment conformity was found to be directly effective to Sufficiency Economy Philosophy-based life, and media literacy, true-value and artificial-value thinking, family socialization and peer group were found to be indirectly effective to contentment of the students, which was found to be predicted 89% of variances of the students’ Sufficiency Economy Philosophy-based life.  2) The test of interaction effects on three factors: family, peer group and media literacy, was found that (1) the interaction between family socialization and peer group conformity had the negative direct effect of -0.16 on the students’ contentment at a statistically significant level, (2) the interaction between family socialization and media literacy had not any effect on the students’ contentment, and (3) the interaction between peer group conformity and media literacy had the positive direct effect of 0.18 on the students’ contentment at a statistically significant level. In addition, the interaction of these three models was found capable to predict variances of the students’ contentment at the level of 56%, 70% and 81%, respectively. 

Published
2018-12-28
How to Cite
ไวโสภา, กรรณิกา; ทองคำบรรจง, เสกสรรค์; อินัง, ประชา. ความสันโดษของเยาวชนไทย: การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 616-634, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/373>. Date accessed: 01 dec. 2024.