แนวทางการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังในทัณฑสถาน ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

A Guideline of Buddhist Study Management in Prison of Mahamakut Buddhist University

  • บุญร่วม คำเมืองแสน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัด สุวัฒนเมธาคุณ คณะศาสนาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม คณะศาสนาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน คณะศาสนาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อแสวงแนวทางการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในทัณฑสถานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย     2.เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในทัณฑสถานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3.เพื่อนำรูปแบบการศึกษาพระพุทธศาสนาในทัณฑสถานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ไปแก้ปัญหาและพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพต่อไป โดยได้เลือกผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย อนุสาสนาจารย์ เจ้าหน้าที่ทัณฑสถาน จำนวน 18 คน  เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล แบบสนทนากลุ่ม แล้วตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ดังนี้


                   ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังในทัณฑสถานนั้น คือนำการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักคำสอนพระพุทธศาสนาไปอบรมสั่งสอนปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้ต้องขังทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อขัดเกลาจิตใจผู้ต้องขัง  เป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ปกติ และมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข โดยการปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎหมาย ระเบียบวินัย ตลอดถึงประเพณี วัฒนธรรมของไทยในด้านๆต่าง


                   ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในทัณฑสถาน เป็นการขัดเกลาจิตใจที่หยาบกระด้างให้สะอาดด้วยหลักธรรมะ    เป็นการพัฒนาจิตใจจากคำว่าคนให้เป็นมนุษย์ ถ้าพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังให้มีหลักธรรมะแล้ว  การปกครองก็จะง่ายขึ้น เจ้าหน้าที่ไม่เหนื่อยมาก ทำให้ความหวาดระแวงต่อกันลดลง ซึ่งตรงกับนโยบายของกรมราชทัณฑ์และตรงกับภาระงานของเรือนจำโดยตรงได้แก่การขัดเกลา ปลูกฝังและส่งเสริม ขัดเกลาหมายถึงการฝึกฝนให้อยู่ในระเบียบวินัย ขัดเกลานิสัยที่แข็งกระด้าง ขัดเกลาจิตใจที่เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ปลูกฝังได้แก่การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจให้เป็นคนดีรู้จักบาปบุญคุณโทษ ส่งเสริม ได้แก่การพัฒนาอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง ทั้งงานฝีมือและงานอื่นๆ เมื่อออกไปแล้วจะได้ไม่เป็นปัญหาของสังคม บุคคลเหล่านี้เมื่อพ้นโทษไปแล้วหลายคนก็ดำเนินชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ  บางคนก็ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หลายคนก็กลับไปประกอบอาชีพที่ดีงามและสุจริต  ตามนโยบาย “คืนคนดีสู่สังคม”


                   ผลการวิจัยพบว่า เรือนจำได้จัดสถานที่เรียนให้กับผู้ต้องขังเป็นสัดส่วนหรือเป็นแดน  เรียกว่าแดนการศึกษาประกอบไปด้วยอาคารเรียนหนึ่งหรือสองอาคาร สำหรับผู้ต้องขังที่เป็นนักศึกษา แต่ละคนจะอยู่ในแดนของตนเอง เมื่อถึงเวลาเรียนผู้ต้องขังแต่ละคนจะต้องเดินทางไปรวมกันที่แดนการศึกษา อาจารย์ผู้สอนจะต้องเดินทางไปตอนตามวันเลาที่กำหนดในแดนการศึกษาเท่านั้น  ในขณะที่สอนนักศึกษาทุกคนมีความสนใจที่จะศึกษาและตอบคำถามอย่างเป็นกันเองและมีความกระตือรือร้นที่อยากจะศึกษาหลักธรรมะมากยิ่งขึ้น


          The objectives of this qualitative research were; 1. to study a guideline of Buddhist study management in prison of Mahamakut Buddhist University, 2. to build a model of Buddhist study management in prison of Mahamakut Buddhist University, and 3. to implement the model of Buddhist study management in solving teaching and learning problems and in improving the study course. The data were collected from 18 key-informants consisting of administrators, heads, chaplains and officers of the prison. The research instruments were in-depth interview form and focus group discussion form. The data were analyzed by content analysis.


         The results of the study found that the guideline of Buddhist study management in prison was to implement Buddhist teachings in training the inmates with morality and virtue theoretically and practically in order to improve their mental quality and living a normal life by following the rule of law, regulations, customs and cultures of Thailand.


          A model of Buddhist study management in prison was to train and tame the harsh mind into the calm and kind mind through Dhamma and to raise the normal man’s mind into the human mind. When the inmates were trained and tamed by Dhamma, the government and management in prison could be improving and comfortable. Apprehension and in-confidence between inmates and officers could be declined according the policy of Department of Corrections and mission of the prison saying that training, implanting and supporting. Training means to train and tame the inmates with discipline, to adjust their characteristics and behaviors, and to improve their mind from lust, hatred, and delusion. Implanting refers to arranging activities that help improve their mental conditions and qualities. Supporting means to have the inmates trained with handicrafts and other career skills for their future living after acquittal based on the motto; returning a good man to society.


        The prison has a separate area for inmates to study called “Study Zone” consisting of one or two buildings. The inmates live in their specific zones and they can come to the study zone only on the time of study. The teachers also can enter to the study zone only on their teaching schedules. While teaching and learning, the inmate-students pay attention to the class and exchange opinions on the course enthusiastically and friendly.

Published
2019-07-05
How to Cite
คำเมืองแสน, บุญร่วม et al. แนวทางการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังในทัณฑสถาน ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 349-364, july 2019. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/426>. Date accessed: 01 dec. 2024.