หลักพุทธิปัญญาเพื่อการรู้เท่าทันความสุขในการขับเคลื่อนเป้าหมายชีวิต
Buddhist Cognitive Principles for Awareness of Pleasure for Life Goal Driving
Abstract
มนุษย์ดำเนินชีวิตเพื่อแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ตอบสนองความต้องการของตนเองให้ได้สิ่งที่เรียกว่า ความสุข ในขณะเดียวกันกลับประสบความทุกข์ในกระบวนการแสวงหาความสุขและจากสิ่งที่ถือว่าเป็นความสุขนั่นเอง การรู้เท่าทันและปรับวิธีคิดให้สอดคล้องกับหลักความเป็นจริงเกี่ยวกับความสุข จะทำให้มนุษย์มีความทุกข์น้อยลงหรือได้รับความสุขที่ประเสริฐและยั่งยืนกว่า ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับความสุข ซึ่งประกอบด้วย 1) ความสุขฐานะเป้าหมายชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา 2) วิธีการแสวงหาความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การแสวงหาความสุขจากการใช้จ่ายทรัพย์สิน การไม่แสวงหาความสุขด้วยการให้ความทุกข์แก่ตนและผู้อื่น และการแสวงหาความสุขจากการเป็นผู้ให้ 3) การรู้เท่าทันโทษของความสุขเพื่อเข้าถึงความสุขที่ประเสริฐกว่า เพราะความสุขตามแรงปรารถนาหรือกามสุข เป็นเหตุให้เกิดการดิ้นรนกระเสือกกระสน ความหึงหวงกังวล ความขัดแย้งวิวาท สงคราม และ อาชญากรรม
Humans seek things to satisfy themselves for pleasure, but at the same time experiencing suffering in the process of seeking pleasure and from what is considered as pleasure. The Awareness and adjustment of thinking in accordance with the reality of pleasure will cause humans to suffer less or receive better and lasting pleasure. This article presents a way to think about pleasure including: 1) pleasure as a life goal according to Buddhist principles; 2) the method of seeking pleasure according to Buddhist principles, namely the pursuit of pleasure from spending property, not seeking pleasure by causing own-self and others suffer, and seeking pleasure form Philanthropy; 3) awareness of pleasure blame in order to reach a better pleasure, because pleasure according to desire or sensual pleasure (Kamasukha) cause struggles, jealousy, anxiety, conflict, war, and crime.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย