การศึกษารูปแบบและวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา

A STUDY OF PATTERNS AND RESPONSE METHODS OF SEXUAL HARASSMENT OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS

  • รัตนาภรณ์ โปปัญจมะกุล สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา ศึกษาวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา วิเคราะห์รูปแบบและระดับของการถูกคุกคามทางเพศ เพื่อจำแนกตามเพศและระดับชั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ดำเนินการตรวจสอบระบบและเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษารูปแบบการคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยถูกคุกคามทางเพศ รองลงมาคือถูกคุกคามทางเพศ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีการหลีกเลี่ยง รองลงมาคือใช้วิธีเฉย ๆ

  2. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของเพศกับการคุกคามทางเพศ และวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ

  3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับชั้นกับการคุกคามทางเพศ และวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ

The purposes of this research were; to study the sexual harassment patterns of secondary school students, study responses to the sexual harassment analyze patterns and levels of sexual harassment, classified by gender and grade level of the secondary school students under one Secondary Educational Service Area Office. The tool was assessed by 3 professionals. Data were collected by interview and questionnaire, then analyzed by percentage and Chi-Square The research results were as follows;            1. It was found that most students had never experienced the sexual harassment, some of them have experienced the sexual harassment once or twice a week. The response to sexual harassment of secondary school students was that most students used avoidant methods followed by the ignorant method.            2. The result of the study of the relationship between gender and sexual harassment and response methods to sexual harassment of secondary school students was found no significant relationship.            3. The results of the relationship between grade level and sexual harassment and response methods to sexual harassment of secondary students was found no significant relationship.

Published
2020-03-21
How to Cite
โปปัญจมะกุล, รัตนาภรณ์; ทองคำบรรจง, เสกสรรค์; ทรัพย์วิระปกรณ์, วรากร. การศึกษารูปแบบและวิธีการโต้ตอบต่อการถูกคุกคามทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 441-448, mar. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/437>. Date accessed: 01 dec. 2024.