การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP

Development style of learning with media networks to develop critical thinking skills of graduate students with the learning process MIAP

  • นีรนาท จุลเนียม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAPกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาปฐมวัย คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 25 คน วิธีการดําเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ระยะที่ 2 การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAPเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – Test Dependent
ผลจากการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการรูปแบบการเรียนการสอน (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน (3) กระบวนการเรียนการสอน และ (4) การวัดและการประเมินผล 2. นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP มีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


This research is a research and development with the aim to 1) develop a model for learning with media, social networking, using the learning process MIAP 2) study the effects of learning styles with media social network. the learning process MIAP to develop critical thinking skills. The samples The research was a graduate student. Early Childhood Programs Faculty of Arts and Education Pathumthani University 2nd year 2nd semester 2561 academic year, totaling 25 people to carry out the research is divided into two phases. Phase 1 of the development is a form of learning with social media networks. The learning process MIAP Phase 2 study results of the Study, together with social media networks using MIAP learning process to develop critical thinking skills. The instrument used in the research is a form of learning with social media networks using the learning process MIAP test achievement. The test of critical thinking. The statistics used in this study is the arithmetic mean. The standard deviation and t - Test Dependent.
The results showed that: 1. Study with media, social networking, using the learning process MIAP consists of four components: 1) the form of teaching, 2) objective of the model teaching 3.) the teaching process, and 4) Measurement and Evaluation 2. measurement and evaluation of students using learning styles with social media networks by using a learning process MIAP Points. Achievement after learning higher than before the study. A significant level of .05. 3. All students in the form of classes with social media networking using online learning process MIAP with the skills of critical thinking after learning higher than before. study There were statistically significant at the .05 level.

Published
2020-03-10
How to Cite
จุลเนียม, นีรนาท. การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมกับสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 319-334, mar. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/457>. Date accessed: 01 dec. 2024.