การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ

The Development of Learning Activities Model in ED 1003 Educational and Classroom Research for English Teaching Curriculum of Mahamakut Buddhist University: Srilanchang Campus.

  • จักรกฤษณ์ โพดาพล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart ประกอบด้วย ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ (Reflection) การวิจัยครั้งนี้ มี 3 วงจร 13 ขั้นตอน ในระหว่างปีการศึกษา 1/2559 ถึงปีการศึกษา 1/2561 การวิจัยตาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาสาขาการสอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนจำนวน 60 รูป/คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 รูป/คน นักศึกษาที่ลงทะเบียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดหน่วยกิต คือ 3(2 – 2- 6) หมายถึง จำนวน 3 หน่วยกิต มีภาคบรรยาย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ภาคปฏิบัติ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การจัดการเรียนการสอน พบว่า ควรจัดในห้องที่มีความพร้อมในการปฏิบัติ โดยจัดในห้องคอมพิวเตอร์ ที่มีคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เนตพอเพียงสำหรับนักศึกษา และควรมีการจัดการศึกษาภาคบ่าย ทำให้นักศึกษาไม่หิวข้าวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในการเรียนการสอน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วย (2.1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามรายละเอียดรายวิชาที่กำหนดไว้ มีการถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ในภาคทฤษฎี แล้วให้ปฏิบัติในทุกชั่วโมง โดยเนื้อหาสาระเน้นขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ปฏิบัติจริงทุกสัปดาห์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้แบบงานกลุ่มในระยะแรกและงานเดี่ยวเพื่อพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนของตนเอง ทั้งกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เขียนอภิปรายวิพากษ์ แล้วนำเสนอในการจัดงานสัมมนาวิชาการเป็นการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (2.2) ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้เพื่อใช้เสริมกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดหน่วยกิต คือ 3(2 – 2- 6) หมายถึง จำนวน 3 หน่วยกิต มีภาคบรรยาย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ภาคปฏิบัติ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พบว่า ควรมีห้องคอมพิวเตอร์ ที่มีคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เนตพอเพียงสำหรับนักศึกษาในการปฏิบัติ รวมถึงการลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อนำมากำหดปัญหาการวิจัย และการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการวิจัยในสถานศึกษาของนักศึกษาแต่ละคน (2.3) ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ใช้การวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเข้าเรียนและทำงานในแต่ละสัปดาห์ ทั้งจากการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว รวมทั้งจากการจัดงานสัมมนาวิชาการในการนำเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียนที่ได้ศึกษามาทั้งภาคการเรียน ประกอบด้วยงานเดี่ยว และงานกลุ่ม


 


The objectives of the operational research were to develop the model of learning activities of the subject ‘Educational and Classroom Research’ under the Bachelor of Educational Program in English Teaching, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus. The research was conducted under Kemmis & McTaggart’s concept of three steps: planning, action, observation and reflection. The research was engaged in three cycles of thirteen steps during the first semester of academic year 2559 – the first semester of academic year 2561. The target groups were sixty four-year English Teaching students, registering to study ‘Educational and Classroom Research (ED 1003).’ They were eighteen English Teaching students in academic year 2559, seventeen ones in academic year 2560, and twenty-five ones in academic year 2561.
The research findings were as follows: 1) The subject ‘Educational and Classroom Research (ED1003)’ consisted of the credit detail of 3(2-2-6): three credits, two lecturing hours per week, two practical hours per week, and six self-study hours per week. The recommendations for learning were found to prepare the classroom ready for the students to practice, to learn in the computerized classroom full of sufficient computers with the hi-speed Internet connection, and to learn in the afternoon after lunch to prevent the students from hunger. 2) Learning activities in the subject ‘Educational and Classroom Research (ED 1003)’ consisted of the following: (2.1) In terms of the learning process, there were various theoretical and practical approaches upon the subject specification. The learning content, hourly described and practiced, was aimed at classroom research approaches, based on real practice in every week, of each group’s work at the initial stage and individual work to develop their own classroom researches. The students were encouraged to analyze, synthesize, discuss, criticize and present their classroom research in the academic seminar in order to evaluate their learning. (2.2) In terms of instructional media and learning resources, used to support learning activities of the ED1003 subject, the recommendations were found to provide the students with sufficient computers with hi-speed internet connection, to assign the students the field study to study learning conditions and problems in the schools and to specify research problems, and to collect data from the schools in the field study. (2.3) In terms of learning evaluation, the evaluation was engaged in the present situations: class attendance, work presentation of the group and the individual every week, classroom research presentation of the group and the individual in the academic seminar.

Published
2020-03-21
How to Cite
โพดาพล, จักรกฤษณ์. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชา ED 1003 การวิจัยทางการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 353-371, mar. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/515>. Date accessed: 01 dec. 2024.