การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ของครูพระสอนศีลธรรม โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Organizing of Buddhist Activities of the Moral Teacher Schools under Bangkok

  • พระธนวัฒน์ ศรีสำราญ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงของการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และเพื่อเสนอการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพิ่มเติม ของครูพระสอนศีลธรรม โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 238 รูป วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ของครูพระสอนศีลธรรม โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สภาพความเป็นจริงการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของครูพระสอนศีลธรรม โดยภาพรวม สภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปัญญา รองลงมาคือ ด้านศีล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสมาธิ  ผลการวิเคราะห์ความจำเป็นพบว่า 1) กิจกรรมด้านศีล สภาพความเป็นจริงมีการจัดกิจกรรมในระดับต่ำ คือ มีการจัดกิจกรรมเสียงตามสาย / บทเพลง นิทานธรรมะ กิจกรรมที่ควรทำเพิ่ม คือ กิจกรรมการไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง 2) กิจกรรมด้านสมาธิ สภาพความเป็นจริงมีการจัดกิจกรรมในระดับต่ำ คือ มีการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าแข่งขันกิจกรรมแต่งคำประพันธ์ทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมที่ควรทำเพิ่ม คือ ควรมีการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าแข่งขันสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ 3) กิจกรรมด้านปัญญา สภาพความเป็นจริงมีการจัดกิจกรรมในระดับต่ำ คือ มีการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าประกวดโครงการกิจกรรมนวัตกรรม(สิ่งประดิษฐ์) กิจกรรมที่ควรทำเพิ่ม คือ ควรร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเพิ่มกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามข้อเสนอของผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาและครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในการปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรม และการรักษาสืบสาน วัฒนธรรมประเพณีของนักเรียน


Abstract


 


This research The objective is to study the reality of Buddhist activities. And to propose additional Buddhist activities Of the moral teacher Schools under Bangkok The instrument used in the research was a 5 level rating scale questionnaire. The sample group consisted of 238 moral teachers in the schools under the jurisdiction of Bangkok Metropolis. By using statistical software packages To find the percentage, average, standard deviation And analyze the need.


The results of the research showed that Organizing of Buddhist Activities Of the moral teacher Schools under Bangkok The reality of the Buddhist activities of the moral teachers in general is at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the highest mean was wisdom, followed by precepts, while the lowest mean was concentration. The analysis of necessity found that 1) Religious activities In fact, there were low level of activities, namely, only audio activities in accordance with music / Dharma songs. Additional activities that should be done are paying respect to monks, chanting and meditating before attending school every time. 2) Meditation activities In fact, there are low level of activities, which are encouraging students to compete in Buddhist composing activities. The additional activities that should be done are to encourage the students to compete in the chanting of Pra Rattanathai Melody Soranyanya. 3) Intellectual Activities In reality, there are low level of activities, which are encouraging students to compete in the innovation activity project (invention). The more activity that should be done is to cooperate with the community to organize the Buddhism propagation activity. The increase of Buddhist activities as proposed by this research result will be beneficial to the schools and teachers of moral teaching in schools in cultivating Morality and ethics And preserving Culture and traditions of students.

References

กรมการศาสนา. (2543). คู่มือพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2548). คู่มือดำเนินงานตามโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษา. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานครฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563). กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา.

โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2559). แผนยุทธศาสตร์พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ประภาพร จันทรัศมี. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มเข็งทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูธรรมธราจารย์, มนูญ ศิวารมย์ และ วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2560). กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารธรรมทรรศน์, 17(2), 62-73.

พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชาชนต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาเขตทวีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร2013, (6), 457-478.

สำนักงานพระสอนศีลธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). ครูมือพระสอนศีลธรรม. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง.

Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. Retrieved fromhttps://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/001316447003000308
Published
2020-12-25
How to Cite
ศรีสำราญ, พระธนวัฒน์; บุศรากูล, ธีระพงศ์. การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ของครูพระสอนศีลธรรม โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/654>. Date accessed: 01 dec. 2024.