การบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

THE ADMINISTRATIVE BEHAVIOR OF SCHOOL ADMINISTRATOR AFFECTED TO ADMINISTRATION OF STUDENT SUPPORT SYSTEM UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • พัฒณฉัตร แซ่ภู่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ3) เพื่อศึกษา  พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลนักเรียนช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ สถานศึกษาหรือหัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูแนะแนว และครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 345 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้ ตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Hair, etal. (2012: 173-175) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ใช้ตำแหน่งเป็นตัวแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร และการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า: 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในของพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง  .216 - .701 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารกับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา (Ytot) พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เกือบทุกด้าน ยกเว้น ด้านด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน (X7) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง  .137 - .526


The purpose of this research was  1) to study the management behavior of the executives. 2) To study the management of school attendance system in schools. Under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 1 and 3) to study the administrative behavior of the administrators affecting the administration of the student support system in the educational institution. The sample is the director of the school. Deputy Director 9Educational institutions or heads of departments involved in the implementation of student support systems, tutors, and classroom teachers, or school counselors. The questionnaire was administered to 345 administrators. And management of student support systems. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. And the multiple regression equation you step. Data were analyzed by using software program.


The research found that:


  1. Management Behavior of Management Under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 1, When considering each side, it was found that. Management Behavior of Management Under the jurisdiction of the office of the Office of the Secondary Education Region 1, the level of education was at the high level of 6 levels and was at the medium level, 2 aspects were ranked from the average to the lowest. Performance Standards and Training Decision making Targeting Communication Operational control And the interaction and interaction.

  2. Management of school attendance support system Under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 1, When considering each side, it was found that. Management Behavior of Management Under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 1, the level of education was at the high level of 5 levels, ranging from the average to the lowest. Student Screening Promotion And the transmission.

  3. Management Behavior of Management The most influential factors influencing decision-making in school administration are the factors influencing the management of the school support system. The results of this study showed that the students' Under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Region 1, 29%

References

กรมสามัญศึกษา. (2550). คู่มือนิเทศงานแนะแนว กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมสามัญศึกษา. (2560). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2549). การประเมินในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

จีราพัชร เดชวิชิต. (2554). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในจังหวัดปราจีนบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

เรืองยศ ครองตรี. (2551). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

Likert, R. (1961). Leadership and Organizational performance: New patterns of management. Tokyo: McGraw-Hill, Kogakusha.
Published
2020-06-30
How to Cite
แซ่ภู่, พัฒณฉัตร. การบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 26-44, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/804>. Date accessed: 01 dec. 2024.