การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 "ในหัวข้อเรื่องการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง"

Project based Learning Management for Thai Classical Dance of Grade Six Students.

  • วิรุณยุพา เทียนรัตน์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อุษาพร เสวกวิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Abstract

 บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลงโดยใช้โครงงาน 2) วัดระดับทักษะการแสดงของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานเรื่องท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์ ในหัวข้อ การสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง โดยมีกลุ่มทดลองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การสร้างสรรค์ท่ารำนาฏศิลป์จากบทเพลง จำนวน 4 แผน แผนละ 120 นาที 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์ท่ารำนาฏศิลป์จากบทเพลง 3) แบบวัดทักษะการแสดงของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานเรื่องการสร้างสรรค์ท่ารำนาฏศิลป์จากบทเพลง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความเที่ยงตรง (IOC) คะแนนเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) การทดสอบที   t – test หาความยากง่าย (P) ของแบบทดสอบ การหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ค่าแอลฟาของครอนบาค (Alpha's Cronbach) ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์  ในหัวข้อการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง พบว่า สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลการวัดระดับทักษะการแสดงของนักเรียนต่อการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์ ในหัวข้อการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง อยู่ในระดับดีมาก  ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 80.00  สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี  ที่เรียนโดยใช้ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์  ในหัวข้อการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง   มีความพึงพอใจ  อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด


Abstract


The purpose of this research was to 1) Study the achievement from subject of creating the act dancing from a song by the projects2) measure the level of performing skills of students in the creation of dance dances by songs 3) To knowing for student’s satisfaction to the project session “In the Topic to creating the act dancing from a song” Which the experimental group was 30 grade six students in the second semester of the academic year 2562 and the research tools were 1) the instructional management plan entitled The creation of the dancing and dancing art from songs, consisting of 4 plans, 120 minutes per plan 2) Testing examination for measuring study result “In the Topic to creating the act dancing from a song” 3) The performance skill test for student  4) Questionnaire student’s satisfaction to the project session. Statistic fee to used for this research were Precision fee (IOC) mean score   Standard deviation fee (S.D.) reliability analysis (Reliability), t – test Difficultly definition (P) test to find confidence in the questionnaire Alpha's Cronbach's results are summarized as follows: (Alpha's Cronbach) The summary result which were 1) Student achievement by using project-based instruction in dance courses. In the topic of creating dancing and dancing art from songs, to found It is higher than before study with statistical significance at the level of 0.05 in line with the hypothesis set. 2) The results of the students' skill level assessment on project teaching in the dance arts course In the topic of creating dancing and dancing art from the songs At a very good level The average percentage is equal to 80.00, in line with the hypothesis set. 3) Grade six students in a school in Nonthaburi province. That is learned by using the project management and learning in the dance arts courses in the topic of creating the Thai classical dance from song, with satisfaction Is at the highest satisfaction level.

References

นุรไอนี ดือรามะ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา.

นิสา เมลานนท์. (2553) .การพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชานาฏศิลป์ เรื่องนาฏลีลานาฏยศัพท์. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์:ฉะเชิงเทรา.

ปราชญ์ รัตนานันท์. (2553). คิดโครงงานสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เป็นภาษา และศิลปะ.

ปรเมษฐ์ บุณยชัย. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชาจารีตนาฏศิลป์ไทย. ม.ป.ท. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

พัชนีพงศ์ คล่องนาวา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการรำวงมาตรฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ . มหาวิทยาลัยศิลปากร: กรุงเทพฯ.

ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2553). เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยโครงงาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น :ขอนแก่น.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2552). วิสัยทัศน์ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โสมพร วงษ์พรหม (2558). “การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทยและการจัดระบบความคิดด้วยผังลำดับเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน” Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – เมษายน) 2558.
Published
2020-06-30
How to Cite
เทียนรัตน์, วิรุณยุพา; เสวกวิ, อุษาพร. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชานาฎศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 "ในหัวข้อเรื่องการสร้างสรรค์ท่ารำนาฎศิลป์จากบทเพลง". วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 252-262, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/825>. Date accessed: 01 dec. 2024.