การเปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1

A Comparison of Life Skills among Primary School Students under Buriram Primary Education Service Area Office 1

  • เกศรา น้อยมานพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนภร อินต๊ะสิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณภัทร โพธิ์วัน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ
  • สวาสดิ์ วารินกุฎ โรงเรียนบ้านดอนหวาย

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 โดยจำแนกตามเพศ และระดับชั้นของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านแรก การตระหนักและการเห็นคุณค่าตนเอง ด้านที่สอง การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่สาม การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านที่สี่การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เครื่องมือในการวิจัยที่ใช้มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.245-0.854  และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.974 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำนวน 1,053 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent-Sample t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) รวมถึงการทดสอบภายหลังด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD)


ผลการวิจัย พบว่า ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามมีความแตกต่างกันระหว่างนักเรียนชายและหญิงในภาพรวมและทั้ง 4 องค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 อย่างไรก็ดี ผลการศึกษากลับพบว่า ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ไม่มีความแตกต่างกันตามระดับชั้นทั้งในภาพรวมและทุกองค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์


Abstract


The objective of this research was to compare the levels life skills among primary school students under Buriram Primary Education Service Area Office 1 according to gender and primary educational level. The concept of the life skill based on The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D.2008) of the Ministry of Education, Thailand, consisted of four main components: (i) self-realization and self-esteem, (ii) analytical thinking, decision making and creative problem-solving, (iii) emotional and stress management, and (iv) interpersonal relationship. Participants selected by stratified random sampling were 1,053 primary school students in schools under Buriram Primary Education Service Area Office 1. The research instrument used in this study was a five-rating scale questionnaire with 58 questions. The discrimination of items in the questionnaire ranged between 0.245 and 0.854, and the reliability was 0.974. Data were analyzed by using independent-sample t-test, one-way analysis of variance (One-Way ANOVA) and post-hoc comparison using the least significance difference (LSD).


The findings based on independent sample t-test revealed that there was a statistically significant difference in the level of life skills in overall and all components between boys and girls (p<.05). However, the result based on one-way ANOVA found that there was no statistically significant difference in the levels of life skills in overall and all components (p<.05) except for the component of an analytical thinking, decision making and creative problem-solving.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม และภัทราวดี มากมี. (2562.) การเปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระหว่างเพศและรูปแบบการเรียนรู้. วารสารวิจัยและวิทยาการทางปัญญา, 17(1), 191-203.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จากhttps://docs.google.com/viewer?
a=v&pid=sites&srcid=c2Vjb25kYXJ5MTEuZ28udGh8d3d3fGd4OjNlYjJiYmNlYTdlNGU1M2M

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Published
2020-06-30
How to Cite
น้อยมานพ, เกศรา et al. การเปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 294-303, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/827>. Date accessed: 01 dec. 2024.