บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

The Role of School Administrators Motivating the Performances of Teachers in the Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32

  • เนตรนภา นมัสไธสง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • พระปริยัติสารเวที (ทองสุข สุทฺธสิริ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ


วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 3) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 56 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า:


  1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครู และบุคลากร ด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวก และด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

  2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การได้รับการยอมรับนับถือ รองลงมาคือ ความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน

  3. บทบาทของผู้บริหารส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า การประเมินผล การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การสร้างแรงจูงใจ และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ .05

ABSTRACT


            The objectives of this thesis were: 1) to study the roles of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 32, 2) to study the motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32, and 3) to study the roles of the administrators affecting the motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32. The data were collected through questionnaire from 280 samples in 56 schools under Secondary Educational Service Area Office 32.  The statistics used in data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.


            The results of research were found that:


  1. 1. The role of school administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 was at a high level overall. The descending score-order from maximum to minimum started with academic leadership, followed by teacher and personnel promoting and supporting for their development, facilitators, and public relations respectively.

  2. 2. The motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 was at a high level totally. The highest level was on acceptability, followed by work achievement, responsibility, and career path progress respectively.

  3. 3. The role of administrators affecting the performance motivation of teachers in schools under motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 indicated that evaluation, facilitation, motivation, and participatory management affected the motivation of the teachers in the schools under Secondary Educational Service Area Office 32 with a statistically significant figure at 0.05.

References

เฉลิมศรี อรรจนกุล. (2558). การวิจัยนิเทศศาสตร์. สงขลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ธงชัย สันติวงศ์. (2540). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธีระ รุญเจริญ. (2549). สู่ความเป็นผู้บริหารศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ธีระศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2549). การวัดและประเมินผลการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรา สมประสงค์. (2556). ทฤษฎีการจูงใจด้านเนื้อหา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

ผจญ เฉลิมสาร. (2556). คุณภาพชีวิตการทํางาน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ คณะ. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. บุรีรัมย์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์. (2558). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

หวน พินธุพันธ์. (2548) . การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

กนกวรรณ นิสสัย. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กันนิกา ทองทุม. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอสอยดาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมาหบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ขนิษฐา สมาธิ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรียา บุญรุ่ง. (2555). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอแหลมสิงห์สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพรรณ หล่ำน้อย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครุในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ีการศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณทิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

รจนา วิเศษศิริกุล. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วัชรินทร์ สุกใส. (2559). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

สิริกานต์ โฮมราช. (2558). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

สุมัธนา สร้อยสน. (2558). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรพรรณ คำมา. (2559). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารี โพธิสาร. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อุษณีย์ โพธิสุข. (2543). กลยุทธทางการศึกษาผู้เรียนสำคัญที่สุด ในร่วมคิดร่วมเขียนปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนที่สำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper&Row.
Herzberg, F., Mausner B. and Snyderman B. (1959). The Motivation to Work. (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Published
2020-06-30
How to Cite
นมัสไธสง, เนตรนภา; (ทองสุข สุทฺธสิริ), พระปริยัติสารเวที; ด้วงสำราญ, ขัตติยา. บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 315-328, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/844>. Date accessed: 01 dec. 2024.