บทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

Women’s Role in Participation in Local Politics : A Case Study of Tambon Kham Khuan Kaeo Municipality, Khum Khuan Kaeo District, Yasothon Province

  • วัจนันท์ ดลสุข มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

สารนิพนธ์เรื่อง บทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)  เพื่อศึกษาบทบาทของสตรีฃในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านบทบาทความเป็นผู้นำในท้องถิ่น 2)  เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบบทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุกับวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกัน 3)  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านความเป็นผู้นำ กระบวนการทางการเมือง และด้านกิจกรรมของชุมชนในท้องถิ่นของประชากรสตรีเพศในเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร การวิจัยในครั้งนี้ ได้ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารและการออกภาคสนามในเขตที่ต้องศึกษา โดยการแจกแบบสอบถามกับบุคคลเป้าหมายและการทดสอบความเชื่อมั่นที่เทศบาลตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร แล้วนำมาปรับแก้จึงนำไปสอบถามประชากรในเขตพื้นที่ที่จะต้องศึกษา


ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ One-way  ANOVA  พบว่า สตรีที่มีอายุต่างกันมีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน และสตรีที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ  แตกต่างกัน


            ผลของการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อเสนอแนะ ด้านบทบาทความเป็นผู้นำในท้องถิ่น เห็นว่าสตรีต้องแสดงบทบาทของตนที่มีต่อครอบครัวและท้องถิ่น มีพฤติกรรมเหมาะกับการประชาสัมพันธ์ได้ดี และเหมาะกับความเป็นผู้นำด้านวัฒนธรรมประเพณีผู้นำในการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ สตรีควรเป็นสัญลักษณ์อันดีงาม สร้างค่านิยมเกียรติยศให้แก่ท้องถิ่น ด้านกระบวนการทางการเมืองในท้องถิ่นสตรีต้องสนใจเข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการวางแผนบริหารงบประมาณ ติดตามประเมินผลเป็นผู้นำของชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกเทศมนตรี ประธานสภา และสตรีควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยินดีรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น วางรากฐานทางการเมืองแก่เยาวชนที่จะเป็นผู้นำในอนาคตมีวิสัยทัศน์ในการวางแผนการดำเนินการบริหารท้องถิ่น โดยการสร้างจิตสำนึกด้านความถูกต้องดีงาม ค่านิยมของสังคม เป็นต้น รวมทั้งเป็นผู้นำชุมชน เป็นผู้นำกลุ่มชน สอดส่องป้องกันผู้ก่อการร้าย โจรผู้ร้าย การค้ามนุษย์และร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ด้านกิจกรรมของชุมชนในท้องถิ่นเห็นว่าสตรีต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับงานอาชีพด้านต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนประสานเชื่อมโยงแหล่งผลิต คิดวิธีผลิตแบบใหม่เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ประสานแหล่งจำหน่าย บริหารจัดการผลประโยชน์เกี่ยวกับกิจกรรมของชุมชน และเป็นผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มแปรรูปอาหาร กลุ่มหมอรักษาโรคทางเลือก กลุ่มร้านค้าริมทาง และเห็นว่าสตรีควรจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ควรสนใจใฝ่รู้กิจกรรมอาชีพของชุม การตลาด ร้านค้า การให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ประกอบสัมมาชีพ กลุ่มบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เป็นแม่บทให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นในการเป็นวิทยากรเชิงปฏิบัติการงานอาชีพ

Published
2020-06-30
How to Cite
ดลสุข, วัจนันท์. บทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. ยโสธรปัญญาปริทรรศน์, [S.l.], v. 1, n. 1, p. 48 - 63, june 2020. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jmyir/article/view/843>. Date accessed: 28 nov. 2024.