ความงามของพระพุทธรูปไม้ตามหลักสุนทรียศาสตร์

The Beauty of the Wooden Buddha Image According to Aesthetics

  • พระใบฎีกา นรินทร์ สีลเตโช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะวิเคราะห์ความงามของพระพุทธรูปไม้โดยใช้ทฤษฎีความงามทางสุนทรียศาสตร์ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีจิตนิยม วัตถุนิยม และสัมพัทธนิยม มาวิเคราะห์หาความงามของพระพุทธรูปไม้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ความงามของพุทธรูปไม้ตามทฤษฎีความงามของปรัชญาจิตนิยม ผู้ที่พบเห็นพระพุทธรูปไม้แล้วจะเห็นความงามไม่เท่ากัน บางคนจะเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปไม้มีความงามมาก บางจะเห็นว่างามพอประมาณ บางคนเห็นว่างามน้อย บางคนอาจจะเห็นว่าไม่งาม เพราะความงามขึ้นอยู่กับจิตใจของแต่ละคนเป็นที่รับรู้และชอบหรือไม่ชอบในศิลปวัตถุนั้นความงามของพระพุทธรูปไม้ตามทฤษฎีวัตถุนิยม นั้นแยกเป็น 2 ประเด็น คือ 1)เป็นไม้ที่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี คือเป็นไม้มงคล 2)ไม้บางชนิดนอกจากจะเป็นไม้มงคลแล้วยังเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความคงทน เพราะความงามนั้นมีอยู่แล้วในตัววัตถุ ความงามตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม ความงามที่แท้จริงนอกจากจะเกิดขึ้นจากจิตใจของมนุษย์และความงามที่มีอยู่แล้วในวัตถุแต่ควรจะประความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และในการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคมนั้นๆ ด้วยการวิเคราะห์ความงามทั้ง 3 ทฤษฎีความงามของสัมพัทธนิยมเหมาะที่จะใช้ตัดสินความงามของพระพุทธรูปไม้ เพราะสัมพัทธนิยมเน้นการใช้ความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นวิถีชีวิตของแต่ละชุมชุนมาเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินความงามของศิลปะวัตถุนั้นๆ

References

จรุญ โกมุทรัตนานนท์. (2550). สุนทรียศาสตร์ปัญหาเบื้องต้นในปรัชญาศิลปะและความงาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต.

ดวงเดือนรุ่งฟ้า เพ็ญไพสิฐ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในผลงานจิตกรรมของอาจารย์ทวี นันทขว้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิพาดา เทวกุล. (2537). ธรรมชาติหรือลักษณะทั่วไปของสุนทรียศาสตร์. ศิลปกรรมศาสตร์. 2(1). 18-21.

พระทักษิณ คณาธิกร. (2554). ปรัชญา. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

พระมหาปพน กตสาโร. (2560). พระพุทธรูปไม้ : คุณค่าและคติธรรมของคนอีสาน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(2). 99-113.

พระมหาปพน กตสาโร. (2560). พระพุทธรูปไม้ : คุณค่าและคติธรรมของคนอีสาน. รายงานวิจัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

วนิดา ขำเขียว. (2553). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : พรานนกการพิมพ์.

C. E. M. Joad. (2513). ปรัชญา แปลโดย วิทย์ วิศทเวทย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
Published
2021-12-09
How to Cite
สีลเตโช, พระใบฎีกา นรินทร์. ความงามของพระพุทธรูปไม้ตามหลักสุนทรียศาสตร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 240-253, dec. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1681>. Date accessed: 29 nov. 2024.
Section
Academic Article