รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด

A MODEL FOR IMPROVING THE QUALITY OF LIFE OF MILITARY SERVICE AT THE 1st INFANTRY BATTALION, 16th INFANTRY REGIMENT, ROI ET PROVINCE

  • วิจักษณ์ ใหญ่เลิศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร . มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ  กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด กับปัจจัยส่วนบุคคล และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นทหารกองประจำการกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 198 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Independent และวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนา


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิต ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด 1)ด้านที่พักอาศัย ควรจัดฟูกนอนที่นุ่มสบายกว่านี้ มีพัดลมทั่วถึง จัดหาตู้ เตียง ที่มีคุณภาพ และปรับปรุงพื้นที่บริเวณโรงนอน 2)ด้านอาหารและโภชนาการ ควรปรับปรุงรสชาติอาหาร ปริมาณที่เพียงพอ และอาหารควรมีความหลากหลายแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ 3)ด้านเครื่องแต่งกาย เครื่องนอน ของใช้ประจำตัว ควรจัดเครื่องแต่งกายทหารให้ตรงกับที่สำรวจ ควรแจกจ่ายตามวงรอบที่กองทัพบกกำหนด และควรมีนโยบายการนำที่นอนมาตากอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 4)ด้านสุขภาพร่างกาย ควรจัดกิจกรรมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจัดหายาพาราเซตามอล แอลกอฮอล์ล้างแผล และสำลีให้เพียงพอ และควรเพิ่มเวลาในการออกกำลังกายให้มากขึ้น 5)ด้านสวัสดิการอื่นๆ ร้านค้าสวัสดิการ(PX) ควรมีความหลากหลายทางด้านสินค้าและมีของใช้ที่จำเป็นมากขึ้น ควรปรับปรุงความสะอาดของร้านอาหาร และการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงพลทหารควรมีความตรงต่อเวลา 6)ด้านอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรม ควรปลูกฝังให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองให้มากขึ้น และควรจัดอบรมด้านอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรม อย่างน้อยเดือนละ 2–3 ครั้ง

References

กองทัพบก. (2563). คำสั่งที่ 678/2563 เรื่อง การตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลและประสิทธิภาพหน่วยทหาร ทบ. รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ : กองทัพบก.

กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16. (2563). การตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลและประสิทธิภาพหน่วยทหาร กองทัพบก ประจำปี 2563. ร้อยเอ็ด : กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16.

จันทัปพา วิเศษโวหาร. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ณัฐพล ไกรวาส. (2560). คุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตันติกร ทิพย์จุฑา. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลทหารกองประจำการ สังกัดศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7(2). 135-136.

นพพงศ์ ทองขจร. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รุ่งอรุณ ลภาสวัสดิ์นันท์. (2558). โหด มัน ฮา ข้าคือ “ทหารเกณฑ์”. กรุงเทพฯ : มติชน.

วรรณภา พัวเวส. (2558). กระบวนการเกณฑ์และฝึกอบรมทหารกองประจําการกองทัพอากาศที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). สาระสำคัญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานบรรณาธิการและเทคโนโลยีจัดการพิมพ์.

อมร นนทสุต. (2556). สหัสวรรษใหม่กับความท้าทายใหม่ๆ ของนักสาธารณสุข. เชียงใหม่ : กระบวนวิชาสาธารณสุขมูลฐาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Published
2022-01-12
How to Cite
ใหญ่เลิศ, วิจักษณ์; ., พระครูชัยรัตนากร; สุวรรณแสนทวี, วิมลพร. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 1-10, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1753>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article