สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • แสงดาว คงนาวัง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัย  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test(One-way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง รองลงมา คือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และด้านการทำงานเป็นทีม ด้านที่มีความคิดเห็นต่ำสุด คือด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

กมลพัชร หินแก้ว. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2559). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(3). 1005-1014.

ปาริชาติ สันติเลขวงษ์. (2556). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พศิน แตงจวง(2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

วินัย นาคำ. (2560). สมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนศรีมหาโพธิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรุตตา แววสุวรรรณ. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. Journal of RoiKaensarn Academi. 6(4). 176-189.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนปฏิบัติราชการ 4 ป ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุธี บูรณะแพทย์. (2557). สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

อริสา นพคุณ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. NRRU Community Research Journal. 12(3). 232-244.

อิสหาก นุย้โส๊ะ. (2556). สมรรถนะครูอสิลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Rigelman, N.M.; & Ruben, B. (2012). Creating Foundations for collaboration in schools: Utilizing professional learning communities to support teacher. Teaching and Teacher Education. 28(2012). 979-989.
Published
2021-11-24
How to Cite
คงนาวัง, แสงดาว. สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 48-60, nov. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1762>. Date accessed: 29 nov. 2024.
Section
Research Article