แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

  • วาทิต แสงจันทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธรินธร นามวรรณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  ศรีสะเกษ ยโสธร จำนวน 352 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1)ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ 2)ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 3)ด้านค่าตอบแทน 4)ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และ 5)ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 2. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 2)ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ 3)ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 4)ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ 5)ด้านค่าตอบแทน ทั้ง 5 ด้าน มีแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู รวมทั้งสิ้น 45 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ฉัตรชัย แทนทอง. (2561). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรีสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลดา สมัครเกษตรการ และสายทิตย์ ยะฟู. (2559). แนวทางส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. การประชุมวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วันที่ 22-23 สิงหาคม 2559. 117-130.

ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). รูปแบบการบริหารงานบุคคลในระบบการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใน สำเนา เนื้อทอง (บรรณาธิการ) ระบบการใช้ครูและการบริหารงานบุคคลของครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ธารณ์ ทองงอก. (2560). ระบบการผลิตครูที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา ในสำเนา เนื้อทอง (บรรณาธิการ) ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครู
ที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณเทียร ชมดอกไม้. (2560). ระบบการผลิตครูที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา
ใน สำเนา เนื้อทอง (บรรณาธิการ) ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2561). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561-2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. จาก https://www.secondary28.go.th/?page_id=2519#

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาการศึกษาเสวนา 2018 : รวมพลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2562 (IMD2019). กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

หนึ่งฤทัย สายเมฆ และธัธชัย จิตร์นันท์. (2563). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจใน
การปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(7). 332-344.

อรอุมา จันทนป และสงวน อินทร์รักษ์. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 378-390.

Herzbreg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York : McGraw-Hill Book.
Published
2021-11-29
How to Cite
แสงจันทร์, วาทิต; นามวรรณ, ธรินธร. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 61-74, nov. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1764>. Date accessed: 29 nov. 2024.
Section
Research Article