การพัฒนาหลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด

DEVELOPMENT HEALTH INSURANCE FOR BUDDHIST COMMUNITIES ROI-ET PROVINCE

  • พระนัฐวุฒิ ศรีจันทร์ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวาปีจันทคุณ . วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุตวรธรรมกิจ . วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถี เพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วยหลักประกันสุขภาพชุมชนวิธีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 421 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 48 คน นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกาย เป็นการพัฒนาร่างกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหลาย ในทางเป็นคุณประโยชน์เกื้อกูล ไม่เกิดโทษ รู้จักบริโภคปัจจัยสี่ให้มีคุณค่าสูงสุด ไม่บริโภคตามค่านิยม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ด้านจิตใจ เป็นการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านจิตใจ ให้ได้รับความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติด้านสมาธิ สวดมนต์เช้า-เย็น และก่อนนอน ด้านปัญญา เป็นการฝึกให้ผู้สูงอายุดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ลุ่มหลงมัวเมา รู้เท่าทันรู้สึกสบายใจ มีสติอยู่กับตัวเอง ไม่คิดมาก มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง ด้านสังคม เป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 2. การพัฒนารูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถีเพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในการทำกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งรูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถีเพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด มีด้วยกัน  3 ข้อ คือ 1)การสวดมนต์ ไหว้พระ รับศีล 2)การเจริญภาวนา 3)การฟังพระธรรมเทศนา 3. กระบวนการสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ คือ ให้มีการเชื่อมต่อระหว่างโรงเรียนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีระบบการทำงานที่คล่องตัวและรวดเร็วขึ้น เพิ่มหน่วยงานเคลื่อนที่เร็วเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ทันท่วงที เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสุขภาพและเจ็บป่วยขึ้น การสร้างเครือข่ายหลักประกันสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการสร้างเครือข่ายระบบภายในขึ้น คือ การเชื่อมโยงหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น การสร้างเครือข่ายภายนอก คือ การขยายโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตอำเภอที่ยังไม่มีโรงเรียนผู้สูงอายุเพิ่มเติมขึ้น โดยการนำเอาคู่มือและระบบโรงเรียนผู้สูงอายุที่พัฒนาแล้วนำไปใช้และขยายเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

References

เจริญ นุชนิยม. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยวิธีพุทธบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงฤดี ลาศุขะ. (2552). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : เกษมการพิมพ์.

ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552). จิตวิญญาณ: มิติหนึ่งของการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาโสภา กิจจฺสาโร. (2553). การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภาวนาสังวรกิจ วิ. (2561). การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2561). การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะเชิงพุทธของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(2). 379-391.

พระปลัดจตุพร วชิรญาโณ. (2560). โคม: แนวคิด ประวัติศาสตร์ และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ วัฒนธรรมพระพุทศาสนาแบบล้านนา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์. (2550). ทำไมต้องดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ฤทัยรัตน์ แสนปวน. (2551). พุทธศาสนากับการมีชีวิตยืนยาว. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมบรูณ์ วัฒนะ. (2559). แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท.วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 24(44). 189-190.

สสจ.ร้อยเอ็ด. (2564). ฐานข้อมูลระบบ HDC. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564. จาก http://sasuk 101.moph.go.th/

สุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Published
2022-02-24
How to Cite
ศรีจันทร์, พระนัฐวุฒิ et al. การพัฒนาหลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 226-240, feb. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1916>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article