การสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาจิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนในครอบครัวตามแนวพุทธศาสนา

CREATING AND DEVELOPING A MENTAL DEVELOPMENT MANUAL TO PROMOTE DESIRABLE BEHAVIOR OF PEOPLE IN A BUDDHIST FAMILY

  • สุรพันธ์ สุวรรณศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เอี่ยม อามาตย์มุลตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาจิต 2)เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาจิต 3)เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตและเพื่อศึกษาผลการประเมินคู่มือปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาจิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนในครอบครัวตามแนวพุทธศาสนา วิธีดำเนินการวิจัยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินการด้านการพัฒนาจิต ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนาคู่มือกิจกรรมพัฒนาจิต ด้วยการประยุกต์ใช้หลักธรรมอริยสัจสี่ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองดำเนินการพัฒนาจิต และขั้นตอนที่ 4 ประเมินการดำเนินการพัฒนาจิตตามรูปแบบมาตรฐานการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการสร้างและพัฒนาคู่มือ จำนวน 329 ครอบครัว ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมพัฒนาจิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการดำเนินการทดลองคู่มือปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาจิต โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมอริยสัจสี่กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครอบครัวในชุมชน ผู้เข้าอบรมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม เท่ากับ 19.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.49 คะแนน เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 63.70 ระหว่างการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 51.50 ส่วนเบี่ยงเยนมาตรฐานเท่ากับ 3.20 คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.83 หลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.53 คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.56 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน และคู่มือปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาจิตที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 85.83/85.56 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.602 แสดงให้เห็นว่าคู่มือกิจกรรมพัฒนาจิต ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.602 หรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60.20 ของคะแนนสูงสุดที่สามารถจะเพิ่มได้ ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดอบรม โดยใช้คู่มือกิจกรรมพัฒนาจิต โดยรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด การนิเทศติดตามผลการนำความรู้และทักษะด้านการพัฒนาจิตด้วยการประยุกต์ใช้หลักธรรมอริยสัจสี่ไปใช้กับครอบครัวในชุมชน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 3. การประเมินคู่มือปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาจิต โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมอริยสัจสี่ตามมาตรฐานการประเมิน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2542). การประเมินผลโครงการจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุมพล พูลภัทรชีวิต และคณะ. (2549) . รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนา กระบวนการสร้างความดี มีคุณธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม).

ทัศนีย์ จินาพร. (2553). การจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ประไพพรรณ บุญคง (2556). รายงานการพัฒนาโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทย ทำดีถวายในหลวง โรงเรียนนราสิกขาลัย. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564. จาก http://www.ns.ac.th/new/images/ 12558/2752558p.pdf

พระไพศาล วิสาโล. (2550). สร้างสันติด้วยมือเรา. นครปฐม : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี(ศพส.) มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิริยะ โม้แพง, กิตติชัย สุธาสิโนบล, ครรชิต แสนอุบล. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้ไตรสิกขาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 15(2). 1-12.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มะลิวัน สมศรี และคณะ (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(พิเศษ). 542-557.

สมใจ กงเติม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนคิดวิเคราะห์ สำหรับครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรการฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สันต์ ศูนย์กลาง (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภัทรชัย กระสินหอม และคณะ. (2558). การพัฒนาคุณลักษณะสุจริต 5 ประการของนักเรียนโรงเรียนวัดเตาปูน โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564. จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=145142&bcat_id=16

อมรา เขียวรักษา. (2548). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Published
2022-01-31
How to Cite
สุวรรณศรี, สุรพันธ์; อามาตย์มุลตรี, เอี่ยม. การสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาจิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนในครอบครัวตามแนวพุทธศาสนา. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 398-409, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1933>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article