การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

DEVELOPMENT OF GUIDELINES TEAM WORK FOR TEACHER IN EDUCATION INSTITUTIONS UNDER THE MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • เปรมชัย ปิยะศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธัชชัย จิตรนันท์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา 2)เพื่อพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของแนวทางการทำงานเป็นทีมได้องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม จำนวน 7 องค์ประกอบ เรียงลำดับความถี่สามลำดับแรกจากมากไปน้อย คือ การกำหนดเป้าหมาย การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามที่เหมาะสม และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และสัมพันธภาพที่ดีภายนอก 2. ผลการพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 21 แนวทาง ได้แก่ 1)ด้านการกำหนดเป้าหมาย 3 แนวทาง 2)ด้านการให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม 3 แนวทาง 3)ด้านการแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามที่เหมาะสม  3 แนวทาง 4)ด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และสัมพันธภาพที่ดีภายนอก 3 แนวทาง 5)ด้านการสร้างบรรยากาศที่ดีภายในทีม 3 แนวทาง 6)ด้านการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ 3 แนวทาง 7)ด้านความไว้วางใจ 3 แนวทาง ผลการประเมินการพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และ 4.34 ตามลำดับโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสม มีความเหมาะสมอยู่ที่มากที่สุด 1 ด้าน และมาก 6 ด้าน ส่วนด้านความเป็นไปได้ ทุกด้านมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน

References

กาญจนา ช้างเยาว์. (2561). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยงวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2551). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ: ความหมาย การวัด และการประยุกต์ในระบบบริหารภาครัฐไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7(10). 105-146.

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย:ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ เขจรนันทน์. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2547). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัทเซนทรัลเอ็กเพลส จำกัด.

ประหยัด ชำนาญ. (2562). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมสำหรับสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราตรี วีระวัฒน์โสภณ. (2547). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้. (2547). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน และทีมพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้.

สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จามจุรี.
Published
2022-06-21
How to Cite
ปิยะศิลป์, เปรมชัย; จิตรนันท์, ธัชชัย. การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 410-420, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1934>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article