การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

THE DEVELOPMENT OF SCHOOL-PARTICIPATED INTERNAL SUPERVISION MODEL THE OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION OF THE NORTH EAST

  • ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1)สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 240 คน 2)สร้างรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบแบบทดสอบ และแบบประเมินประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNImodified


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น การเตรียมการนิเทศ รูปแบบและแนวทางการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศ ตามลำดับ 2. ผลการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน  คือ ส่วนที่ 1  หลักการ และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานสรุปจำนวนสมาชิกเครือข่าย ทสม. เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดและจำนวนรวมของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. จาก https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/tsm-network-system/report/member-location-all/

ทิพากร กิ่งมิ่งแฮ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดา ขันดาวงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแนวใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัยสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารราชพฤกษ์. 12(1). 45-50.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). Teacher Watch. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

สมหวัง พันธะลี. (2562).การพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรรเพชญ ศิริเกตุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายฟ้า หาสีสุข. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 18 (2). 97-108.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ.5(8). 25-31.

อดิศักดิ์ สมบูรณ์กุล. (2553). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนของอำเภอวัฒนานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนงค์นาถ เคนโพธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรรัตน์ ราชจันดี. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสำหรับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรอุมา บวรศักดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2553). การนิเทศ กศน.. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. จาก https://panchalee.wordpress.com

อุทุมพร จามรมาน. (2554). โมเดลคืออะไร. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Bardo, J. W. & Hartman, J .J. (1982). Urban society : A systemic introduction. New York : peacock.

Good, C.V. (1993). Dictionary for education. 3rd ed. New York : McGraw-Hall Book.

Keevep, P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement international handbook. Oxford : Pergamon Press.
Published
2022-07-06
How to Cite
เกษมสวัสดิ์, ดิศกุล. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 463-476, july 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/1939>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article