ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย

FACTORS INFLUENCING OTOP INNOVATIVE LOCAL ECONOMY MANAGEMENT IN THE AREA NONG KHAI PROVINCE

  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ดนัย ลามคำ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ทรงพล โชติกเวชกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 20 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนาวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้านพบว่าการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้  ด้านความแตกต่างด้านสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านภาพลักษณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคายโดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านผู้นำชุมชน(X1) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน(X2) ด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว(X7) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .205.200 และ .110 ตามลำดับ 3. ควรจัดกิจกรรมอย่างมีคุณค่านำเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับชุมชน โดยมีแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จ และสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกิดเปลี่ยนแปลงด้วยความรอบคอบและถูกต้องในเรื่องของสินค้าและบริการ และมีการประชาสัมพันธ์แก่ลูกค้าได้ทันท่วงทีอย่างมีคุณภาพให้มีความน่าเชื่อถือมีเครื่องสินค้าที่ใหม่และมีเอกลักษณ์มีโลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการสามารถจดจำได้และมีความโดดเด่นและสังเกตได้ง่าย อยู่ในทำเลที่เหมาะสมมีที่จอดรถเพียงพอกับผู้มาใช้บริการและมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและมีการตกแต่งสวยงาม และมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง มีความสะดวกสบายในการนำไปบริโภคอุปโภคเป็นศูนย์กลาง OTOP ที่มีคุณภาพมีความสามารถในการส่งมอบความสุขในชุมชนและนักท่องเที่ยวทั้งพัฒนาความชดเจนและรายละเอียดของคำเตือนบนฉลาก โดยจัดทำป้ายราคาสินค้าในการขายจริงราคาต่ำกว่า และสร้างความความสะดวกในการพกพาของบรรจุภัณฑ์

References

กรมการปกครอง. (2561). รายงานสถิติจํานวนประชากรและบาน ประจําป พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก2 สิงหาคม 2565.จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/ showVillageData.php?rcode=90010106&statType=1&year=60.

กฤษณา นิลรัศมี. (2563). แนวทางการสร้างการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อเป็นนักสื่อความหมายท้องถิ่น. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 5(2). 123-145.

รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของหมู่บ้านท่องเที่ยวนวัตวิถี กรณีศึกษาบ้านใหม่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 11(1). 117-131.

สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ. (2562). การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(1). 65-74.

อรัญยา ปฐมสกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน: กรณีศึกษาตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4(1). 177-194.
Published
2022-06-23
How to Cite
สิทธิวงษา, บุญเพ็ง; ลามคำ, ดนัย; โชติกเวชกุล, ทรงพล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 693-701, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2042>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article