การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์

THE DEVELOPMENT OF LITERATURE ANALYSIS SKILLS OF MATTHAYOMSUKSA 2 STUDENTS BY USING CREATIVE DRAMA TECHNIQUES

  • บดินทร์ งามแสง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อธิกมาส มากจุ้ย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ 2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน การวิจัย            นี้เป็นการวิจัยก่อนทดลองใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลังเครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ 2)แบบทดสอบวัดทักษะการวิเคราะห์วรรณคดี และ 3)แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test for dependent)


            ผลการวิจัยพบว่า 1)ทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

จรรยา ชูสุวรรณ. (2559). ประสิทธิผลละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชมพูนุท ธนบดี และคณะ. (2548). การใช้บทบาทสมมติในการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2539). แว่นวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์.(2547).ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พรรัตน์ ดำรุง. (2550). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ภรณี คุรุรัตนะ. (2526). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก สื่อการแสดงกับการพัฒนาเด็ก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (2554). คู่มือครู ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.4 : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2540). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ : ณ เพชร สำนักพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่สูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2544). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมชาติ.

สิทธา พินิจภูวดล. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวนท้องถิ่น.

สุมลมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ และสุมนรตี นิ่มเนติพันธ์. (2558). นาฏศิลป์ไทย ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

อุทัยวรรณ ปิ่นประชาสรรค์. (2540). การละครสำหรับครูประถม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Published
2022-03-31
How to Cite
งามแสง, บดินทร์; มากจุ้ย, อธิกมาส. การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 164-175, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2111>. Date accessed: 29 nov. 2024.