การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

DEVELOPING INNOVATIVE LEADERSHIP ENHANCEMENT PROGRAMS FOR TEACHERS UNDER THE OFFICE OF MUKDAHAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA

  • รัชต์สุพล วิเศษศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและเพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 256 คน ได้มาโดยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประเมินความเหมาะสมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อหาแนวการยกร่างโปรแกรม และตรวจสอบยืนยันโปรแกรมด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้่องการจำเป็น (PNIModified)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับตามมาตรฐานจากมากไปน้อย ดังนี้ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม การมีกลยุทธนวัตกรรม การมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) โมดูล ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม การมีกลยุทธนวัตกรรม การมีความคิดสร้างสรรค์ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการทำงานเป็นทีม ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สำหรับโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2559). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ : ชนะการพิมพ์.

คุณาวุฒิ สิงห์ทอง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู สำหรับ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไชยยศ วันอุทา. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 7(2). 14-29.

ธัชชัย จิตรนันท์. (2562). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2557). พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตาราและเอกสารวิชาการ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา. (2018). Digital Literacy รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ สำหรับผู้บริหาร ยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลประเทศไทย. 1(1). 31-40.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติทางการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นําเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Barr, D., Harrison, J., &Conery, L. (2011). Computational Thinking: A Digital Age Skill For Everyone. Learning and Leading with Technology. 38(6). 20–23.

Boone, Edgar J. (1992). Developing Programs in Adult Education. Illinois : Waveland Press, Inc.
Published
2022-03-19
How to Cite
วิเศษศรี, รัชต์สุพล; ธรรมทัศนานนท์, สุธรรม. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 187-199, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2113>. Date accessed: 29 nov. 2024.