การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

DEVELOPING A CLASSROOM MANAGEMENT MODEL TO DEVELOP STUDENTS' SKILLS IN THE NEW ERA OF A SMALL SCHOOL UNDER THE OFFICE OF ROI ET PRIMARY EDUCATION AREA 2

  • สิริกาญจน์ แก้วคำไสย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 106 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จํานวน 106 คน รวมทั้งสิ้น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ปรากฏดังนี้ 1.1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสังคม ด้านการเรียนการสอน ด้านจิตวิทยา และด้านกายภาพ 1.2) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านจิตวิทยา ด้านกายภาพ และด้านสังคม และด้านการเรียนการสอน 1.3) ลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านกายภาพ  ลำดับที่ 2 ด้านจิตวิทยา ลำดับที่ 3 ด้านสังคม และลำดับที่ 4 ด้านการเรียนการสอน  2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 พบว่า ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ มี 4 ด้าน 23 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ด้านกายภาพ มี 5 วิธีดำเนินการ ด้านจิตวิทยา มี 6 วิธีดำเนินการ ด้านสังคม มี 5 ดำเนินการ และด้านการเรียนการสอน มี 7 วิธีดำเนินการ 4) การประเมิน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : ที.เอส.บี.โปรดักส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การจัดการชั้นเรียนห้องเรียนแห่งความสุข. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). พื้นฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2562). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทริน ไชยวงศ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2544). การประเมินโครงการ : แนวคิดและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รจนา สุโพธิ์ ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์ และพิมพ์พร จารุจิตร์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(1). 169-175.

ระชัย แสนแก้ว และเด่น ชะเนติยัง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กด้านวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (1). 117-131.

วรรณนิภา วงศ์สวัสดิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : แผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 1(2). 1-28.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน (Classroom Management). กรุงเทพฯ : ทริปเพิล เอ็ดดูเคชัน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). กฎหมายและหนังสือเวียน ก.ค.ศ.. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเก้าจอม.

สุปราณี อรรถประจง. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อดุลย์เดช ศรีพิลา. (2563). รูปแบบการจัดการชั้นเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุทุมพร จามรมาน. (2544). วิธีทําประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

Bardo, J.W. and J.J. Hartman. (1982). Urban society : A systemic introduction. New York : Peacock.

Cipani, E. (2004). Classroom Management for all teacher 12 plan for evidence–based practice. United State : Handbooks manuals.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill.

Good, T.L. and Brophy, J.E. (2000). Looking in Classroom. 8th ed. New York : Peacock.

Joyce, M., J. Fisher and G. Hoover. (2003). The Key Elements of Classroom Management. Alexandria, Va : Association for supervision and Curriculum Development.
Published
2022-04-07
How to Cite
แก้วคำไสย์, สิริกาญจน์; ธรรมทัศนานนท์, สุธรรม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 213-225, apr. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2116>. Date accessed: 29 nov. 2024.