การจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กการพ่นทรายเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร

ENVIRONMENTAL MANAGEMENT OF SANDBLASTING STEEL INDUSTRY FOR EXCELLENCE OF ORGANIZATIONAL

  • ณัฎฐวัฒน์ จันทร์จงดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพร เกตุแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชาญ ธาระวาส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทรายเพื่อความเป็นเลิศขององค์การ 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการคุณภาพ (วงจรเดมมิ่ง) สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทราย เพื่อความเป็นเลิศในองค์การ 3) เพื่อวิเคราะห์การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมาภิบาลของอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทรายตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อความเป็นเลิศในองค์การ 4) เพื่อวิเคราะห์การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทราย เพื่อความเป็นเลิศในองค์การ และ 5) เพื่อศึกษาความเป็นเลิศขององค์การอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทราย โดยกรอบแนวคิดของงานวิจัยใช้หลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (วงจรเดมมิ่ง) การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมาภิบาล และการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทรายงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมมนากลุ่ม โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมเหล็ก การพ่นทรายในจังหวัดสมุทรปราการ      และเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง สัมภาษณ์เชิงลึก จัดการสัมมนากลุ่มผู้ปฏิบัติการและประชาชนรอบโรงงาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การรักษากฎระเบียบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรืออุตสาหกรรมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความเป็นมิตรต่อชุมชน เป็นแนวทางการบริหารสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นเลิศขององค์การ 2) องค์การควรให้ความสำคัญกับการวางแผนมาเป็นอันดับแรก ตามด้วยการให้ความสำคับในการดำเนินการการลงมือปฏิบัติ 3) การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมาภิบาล มีหลักการคือ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคม 4) หากต้องการให้องค์การมีความยั่งยืน ควรดำเนินการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนและองค์การอย่างเต็มที่

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2554). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. จาก http://sql.diw.go.th/results1.asp

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). คุณภาพน้ำทิ้ง. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. จาก http://local.environnet.in.th/formal_data2.php?id=623

กานดา จินดามงคล. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตําบลเหมืองง่า อําเภอเมืองลําพูนจังหวัดลําพูน ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์. (2563). รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

สันติ วรโฬร. (2554). การวางแผนการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. นครราชศรีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สายพิณ ปั้นทอง และไชยนันท์ ปัญญาศิริ. (2561). ตัวแบบประสิทธิภาพการจัดการของอุตสาหกรรมฟอกย้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.

สิรินทิพย์ ประภากรวิมล. (2552). การปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยสู่กรีนโลจิสติกส์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริยพงษ์ พลั่วพันธ์. (2558). วัสดุอุตสาหกรรมและกระบวนการ. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Published
2022-10-28
How to Cite
จันทร์จงดี, ณัฎฐวัฒน์ et al. การจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กการพ่นทรายเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 546-558, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2149>. Date accessed: 29 nov. 2024.